วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โปรแกรมmicroft word2002

ผังงาน


ผังงาน (Flowchart) [ refer. ] เว็บเพจหน้านี้สนใจผังงานโปรแกรม มากกว่าผังงานระบบ .. เพื่อเสริมบทเรียน สอนเขียนโปรแกรม
Process Symbol
Input/Output Symbol
Decision Symbol
Terminal Symbol
Document Symbol
Connector Symbol
ความหมายของผังงาน
ผังงาน (Flowchart) คือ รูปภาพ (Image) หรือสัญลักษณ์(Symbol) ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบาย ข้อความ หรือคำพูด ที่ใช้ในอัลกอริทึม (Algorithm) เพราะการนำเสนอขั้นตอนของงานให้เข้าใจตรงกัน ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ด้วยคำพูด หรือข้อความทำได้ยากกว่า ผังงานแบ่งได้ 2 ประเภท 1. ผังงานระบบ (System Flowchart) คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนการทำงานในระบบอย่างกว้าง ๆ แต่ไม่เจาะลงในระบบงานย่อย 2. ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart) คือ ผังงานที่แสดงถึงขั้นตอนในการทำงานของโปรแกรม ตั้งแต่รับข้อมูล คำนวณ จนถึงแสดงผลลัพธ์ ประโยชน์ของผังงาน 1. ทำให้เข้าใจ และแยกแยะปัญหาได้ง่าย (Problem Define) 2. แสดงลำดับการทำงาน (Step Flowing) 3. หาข้อผิดพลาดได้ง่าย (Easy to Debug) 4. ทำความเข้าใจโปรแกรมได้ง่าย (Easy to Read) 5. ไม่ขึ้นกับภาษาใดภาษาหนึ่ง (Flexible Language)
ตัวอย่างผังงานระบบไฟแดงการโปรแกรมแบบมีโครงสร้าง หรือ การโปรแกรมโครงสร้าง ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ผมขอตอบอย่างสั้น ๆ ว่าทุกภาษาต้องมีหลักการ 3 อย่างนี้คือ การทำงานแบบตามลำดับ(Sequence) การเลือกกระทำตามเงื่อนไข(Decision) และ การทำซ้ำ(Loop) แม้ตำราหลาย ๆ เล่มจะบอกว่า decision แยกเป็น if กับ case หรือ loop นั้นยังแยกเป็น while และ until ซึ่งแตกต่างกัน แต่ผมก็ยังนับว่าการเขียนโปรแกรม แบบมีโครงสร้างนั้น มองให้ออกแค่ 3 อย่างก็พอแล้ว และหลายท่านอาจเถียงผมว่าบางภาษาไม่จำเป็นต้องใช้ Structure Programming แต่เท่าที่ผมศึกษามา ยังไม่มีภาษาใด เลิกใช้หลักการทั้ง 3 นี้อย่างสิ้นเชิง เช่น MS Access ที่หลายคนบอกว่าง่าย ซึ่งก็อาจจะง่ายจริง ถ้าจะศึกษาเพื่อสั่งให้ทำงานตาม wizard หรือตามที่เขาออกแบบมาให้ใช้ แต่ถ้าจะนำมาใช้งานจริง ตามความต้องการของผู้ใช้แล้ว ต้องใช้ประสบการณ์ในการเขียน Structure Programming เพื่อสร้าง Module สำหรับควบคุม Object ทั้งหมดให้ทำงานประสานกัน
1. การทำงานแบบตามลำดับ(Sequence) : รูปแบบการเขียนโปรแกรมที่ง่ายที่สุดคือ เขียนให้ทำงานจากบนลงล่าง เขียนคำสั่งเป็นบรรทัด และทำทีละบรรทัดจากบรรทัดบนสุดลงไปจนถึงบรรทัดล่างสุด สมมติให้มีการทำงาน 3 กระบวนการคือ อ่านข้อมูล คำนวณ และพิมพ์
2. การเลือกกระทำตามเงื่อนไข(Decision or Selection) : การตัดสินใจ หรือเลือกเงื่อนไขคือ เขียนโปรแกรมเพื่อนำค่าไปเลือกกระทำ โดยปกติจะมีเหตุการณ์ให้ทำ 2 กระบวนการ คือเงื่อนไขเป็นจริงจะกระทำกระบวนการหนึ่ง และเป็นเท็จจะกระทำอีกกระบวนการหนึ่ง แต่ถ้าซับซ้อนมากขึ้น จะต้องใช้เงื่อนไขหลายชั้น เช่นการตัดเกรดนักศึกษา เป็นต้น ตัวอย่างผังงานนี้ จะแสดงผลการเลือกอย่างง่าย เพื่อกระทำกระบวนการเพียงกระบวนการเดียว
3. การทำซ้ำ(Repeation or Loop) : การทำกระบวนการหนึ่งหลายครั้ง โดยมีเงื่อนไขในการควบคุม หมายถึงการทำซ้ำเป็นหลักการที่ทำความเข้าใจได้ยากกว่า 2 รูปแบบแรก เพราะการเขียนโปรแกรมแต่ละภาษา จะไม่แสดงภาพอย่างชัดเจนเหมือนการเขียนผังงาน ผู้เขียนโปรแกรมต้องจินตนาการด้วยตนเอง

ระบบสารสนเทศ


ระบบสารสนเทศ


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
ระบบสารสนเทศ (Information System หรือ IS) เป็นระบบพื้นฐานของการทำงานต่างๆ ในรูปแบบของการเก็บ (input) การจัดการ (processing) เผยแพร่ (output) และมีส่วนเก็บข้อมูล (storage)
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคือฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์, มนุษย์, กระบวนการ, ข้อมูล ,เครือข่าย
ระบบสารสนเทศนั้นจะประกอบด้วย
ข้อมูล (Data) หมายถึง ค่าของความจริงที่ปรากฏขึ้น โดยค่าความจริงที่ได้จะนำมาจัดการปรับแต่งหรือประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
สารสนเทศ (Information) คือ กลุ่มของข้อมูลที่ถูกตามกฎเกณฑ์ตามหลักความสัมพันธ์ เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นมีประโยชน์และมีความหมายมากขึ้น
การจัดการ (Management) คือ การบริหารอย่างเป็นระบบ เป็นการกำหนดเป้าหมายและทิศทางการจัดการขององค์กรนั้น ซึ่งต้องมีการวางแผน กำหนดการ และจัดการทรัพยากรภายในองค์กร เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ขององค์กรนั้นๆ

เครือข่ายคอมพิวเตอร์


เครือข่ายคอมพิวเตอร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

แผนผังการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (computer network) คือ ระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป
การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง
การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผล, หน่วยความจำ, หน่วยจัดเก็บข้อมูล, โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้
[แก้] ชนิดของเครือข่าย
เครือข่าย เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกัน เพื่อสะดวกต่อการร่วมใช้ข้อมูล, โปรแกรม หรือเครื่องพิมพ์ และยังสามารถอำนวยความสะดวกในการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องได้ตลอดเวลา ระบบเครือข่ายจะถูกแบ่งออกตามขนาดของเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันเครือข่ายที่รู้จักกันดีมีอยู่ 3 แบบ ได้แก่
เครือข่ายภายใน หรือ แลน (Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในห้อง หรือภายในอาคารเดียวกัน
เครือข่ายวงกว้าง หรือ แวน (Wide Area Network: WAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกัน ในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็น กิโลเมตร หรือ หลาย ๆ กิโลเมตร
เครือข่ายงานบริเวณนครหลวง หรือ แมน (Metropolitan area network : MAN)
และยังมีอีกสองเครือข่ายที่ยังมีเพิ่มเติมอีกคือ
เครือข่ายของการติดต่อระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ แคน (Controller area network) : CAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อกันระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro Controller unit: MCU)
เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal area network) : PAN) เป็นเครือข่ายไร้สาย
[แก้] อุปกรณ์เครือข่าย
เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครืองแม่ข่าย เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หลักในเครือข่าย ที่ทำหน้าที่จัดเก็บและให้บริการไฟล์ข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆ กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ใน เครือข่าย โดยปกติคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์มักจะเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูง และ
มีฮาร์ดดิกส์ความจำสูงกว่าคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย .
ไคลเอนต์ (Client) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องลูกข่าย เป็นคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่ร้องขอ บริการและเข้าถึงไฟล์ข้อมูลที่จัดเก็บในเซิร์ฟเวอร์ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ไคลเอนต์ เป็นคอมพิวเตอร์ ของผู้ใช้แต่ละคนในระบบเครือข่าย
ฮับ (HUB) หรือ เรียก รีพีทเตอร์ (Repeater) คืออุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มคอมพิวเตอร์ ฮับ มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่ง ไปยังพอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับฮับจะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย เพราะฉะนั้นถ้ามีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อมากจะทำให้อัตราการส่งข้อมูลลดลง
สวิตซ์ (Switch) คืออุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่ในเรเยอร์ที่ 2 และทำหน้าที่ส่งข้อมูลที่ได้รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังพอร์ตเฉพาะที่เป็นปลายทางเท่านั้น และทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือส่งข้อมูลถึงกันในเวลาเดียวกัน ดังนั้น อัตราการรับส่งข้อมูลหรือแบนด์วิธจึงไม่ขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันนิยมเชื่อมต่อแบบนี้มากกว่าฮับเพราะลดปัญหาการชนการของข้อมูล
เราเตอร์ (Router)เป็นอุปรณ์ที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 3 เราท์เตอร์จะอ่านที่อยู่ (Address) ของสถานีปลายทางที่ส่วนหัว (Header) ข้อแพ็กเก็ตข้อมูล เพื่อที่จะกำหนดและส่งแพ็กเก็ตต่อไป เราท์เตอร์จะมีตัวจัดเส้นทางในแพ็กเก็ต เรียกว่า เราติ้งเทเบิ์ล (Routing Table) หรือตารางจัดเส้นทางนอกจากนี้ยังส่งข้อมูลไปยังเครือาข่ายที่ให้โพรโทคอลต่างกันได้ เช่น IP (Internet Protocol) , IPX (Internet Package Exchange) และ AppleTalk นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segments) เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้เรื่อยๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบ ไม่ลดลงมากนัก เนื่องจากการติดต่อของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกันจะไม่ถูกส่งผ่าน ไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่น และเนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Data Link Layer จึงทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันในระดับ Physical และ Data Link ได้ เช่น ระหว่าง Eternet กับ Token Ring เป็นต้น
บริดจ์ มักจะถูกใช้ในการเชื่อมเครือข่ายย่อย ๆ ในองค์กรเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายใหญ่ เพียงเครือข่ายเดียว เพื่อให้เครือข่ายย่อยๆ เหล่านั้นสามารถติดต่อกับเครือข่ายย่อยอื่นๆ ได้
เกตเวย์ (Gateway) เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างประเภทเข้าด้วยกัน เช่น การใช้เกตเวย์ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ที่เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี (PC) เข้ากับคอมพิวเตอร์ประเภทแมคอินทอช (MAC) เป็นต้น


การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
วิธีการส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้น กลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งรบกวน (Noise) จากภายนอกทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหาย หรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธีลดสิ่งรบกวน เหล่านี้ โดยการพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ


องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน


2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใด ที่การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง

4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่าง ผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้

5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน

6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์ มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้ วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น

ข่ายการสื่อสารข้อมูล หมายถึง การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)
องค์ประกอบพื้นฐาน
หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อลดเวลาการทำงาน
เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ
ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล 1) การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บซึ่อยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึกที่มีความหนาแน่นสูงแผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ในอัตรา 120 ตัวอักษรต่อวินาทีแล้ว จะส่งข้อมูล 200 หน้าได้ในเวลา 40 นาที โดยไม่ต้องเสียเวลานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก 2) ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติวิธีส่งข้อมูลด้วยสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งด้วยระบบดิจิตอล วิธีการส่งข้อมูลนั้นมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูล หากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้ และพยายามหาวิธีแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่ หรือกรณีที่ผิดพลาดไม่มากนัก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้ 3) ความเร็วของการทำงาน โดยปกติสัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่ง ไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง หรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้รวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายยิ่งขึ้น เช่น บริษัทสายการบินทุกแห่งสามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที 4) ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าหากันเป็นเครือข่าย เพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูล ทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลประหยัดขึ้น เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น สามารถส่งข้อมูลให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้

กริยา3ช่อง


  • Infinitive Past Tense Past Participle คำแปลbackbite backbit backbitten ลอบกัดbackslide backslid backslidden/ backslid เลื่อนกลับbe was, were been เป็น,อยู่,คือbear bore born เกิดbear bore born/borne แบก,ถือbeat beat beaten/beat ตีbecome became become กลายเป็นbefall befell befallen บังเกิดแก่beget begot begotten นำมาซึ่งbegin began begun เริ่มต้นbehold beheld beheld เห็นbend bent bent งอbereave bereft bereft ทำให้หมด(หวัง)beseech besought besought อ้อนวอนbeset beset beset ห้อมล้อมbespeak bespoke bespoken แสดงbespread bespread bespread ปกคลุม,แผ่ออกbestrew bestrewed bestrewn ทำเกลื่อนกลาดbestride bestrode bestridden ขี่(ม้า)bet bet/betted bet/betted พนันbetake betook betaken นำ,พาไปbethink bethought bethought พิจารณาbid (farewell) bid/bade bidden บอก,เชิญbid (offer amount) bid bid ประมูลราคาbide bode biden คอย,รออยู่bind bound bound ผูก,มัด,เกี่ยว,พันbite bit bitten กัดbleed bled bled เลือดออกblend blended/blent blended/blent ผสม,กลมกลืนbless blest blest อวยพรblow blew blown พัด,เป่าbreak broke broken แตกbreed bred bred เลี้ยงดูbring brought brought นำมาbroadcast broadcast/ broadcast/ กระจายเสียง broadcasted broadcastedbrowbeat browbeat browbeaten/browbeat ขู่ตะคอกbuild built built สร้างburn burned/burnt burned/burnt เผาburst burst burst ระเบิดbuy bought bought ซื้อ

การเครพสิทธิของผู้อื่น


การเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่มีรัฐธรรมนูญเป็นแม่บทกำหนดกรอบให้ทุกภาคส่วนของสังคมยึดถือและปฏิบัติร่วมกัน โดยกรอบที่สำคัญในการดำรงตนอย่างเหมาะสมของประชาชน คือการยึดมั่นในสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด หากประชาชนทุกคนรู้ถึงสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ และต่างปฏิบัติได้อย่างถูกต้องครบถ้วน ประชาชนในชาติย่อมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และชาติบ้านเมืองก็จะพัฒนาและเจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็วสิทธิของตนเองและผู้อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยการปฏิบัติตนตามสิทธิของตนเองภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ โดยไม่กระทบสิทธิบุคคลอื่น ย่อมได้ชื่อว่าบุคคลนั้นเป็นผู้มีส่วนนำพาบ้านเมืองให้พัฒนา ในที่นี้จะกล่าวถึงการปฏิบัติตนในการรักษาและเคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและ ผู้อื่น ต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดไว้ ดังนี้1. การเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่นที่มีต่อครอบครัวครอบครัวประกอบด้วยพ่อแม่ลูก ทุกครอบรัวมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญในหลายประเด็นด้วยกัน โดยเฉพาะเรื่องการใช้ความรุนแรง และการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม หมายความว่า พ่อ แม่ และลูกจะต้องไม่ใช้ความรุนแรงหรือปฏิบัติต่อกันอย่างไม่เป็นธรรม กรณีระหว่างสามีภรรยาจะต้องเคารพและรับฟังความคิดเห็นของกันและกัน ไม่ตัดสินปัญหาโดยใช้กำลัง กรณีระหว่างบุตรกับบิดามารดา บุตรต้องเชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดามารดา บิดามารดาจะต้องอบรมสั่งสอนบุตรโดยใช้เหตุผล ไม่ใช้การแก้ไขพฤติกรรมลูกด้วยการเฆี่ยนตี เลี้ยงลูกด้วยรักความเข้าใจ และใช้สิทธิเสรีภาพในการแสวงหาความสุขส่วนตัว แต่ต้องอยู่ในขอบเขตและำไม่ทำให้เกิดความเดือดร้อนหรือสร้างปัญหาใด ๆ ให้แก่บิดามารดา2. การเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่นทีมีต่อชุมชนและสังคมสมาชิกทุกคนในสังคมมีสิทธิเท่าเทียมกันในการดำรงชีวิตในสังคม โดยสิทธิดังกล่าวจะต้องไม่ละเมิดสิทธิของสมาชิกคนอื่นในสังคม ในที่นี้ขอยกตัวอย่างสิทธิของตนเองที่มีต่อชุมชนบางประการ ดังนี้ 1) เสรีภาพในเคหสถาน ชาวไทยทุกคนย่อมมีเสรีภาพในเคหสถาน ที่จะสามารถอาศัยและครอบครองเคหสถานของตนโดยปกติสุข ไม่ว่าจะเกิดจาการเช่าหรือเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ซึ่งบุคคลอื่นจะต้องให้ความเคารพในสิทธินี้ แม้แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐหากจะต้องเข้าไปดำเนินการตามกฏหมายใด ๆ เช่น การตรวจค้นเคหสถานของประชาชนก็จะทำการมิได้ เว้นแต่จะมีหมายค้นที่ออกโดยศาลเท่านั้น 2) เสรีภาพในหารเดินทางและการติดต่อสื่อสาร ชาวไทยทุกคนมีเสรีภาพที่จะเดินทางไปในที่ต่าง ๆบนผืนแผ่นดินไทยได้ทุกพื้นที่ของประเทศไทย และสามารถเลือกถิ่นที่อยู่อาศัย ณ ที่ใดก็ได้ในประเทศไทย รวมทั้งชาวไทยทุกคนสามารถที่จะติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นไม่ว่าจะเป็นทางจดหมาย โทรศัพท์ หรืออินเทอร์เน็ต 3) เสรีภาพในการนับถือศาสนา สมาชิกทุกคนในสังคมมีสิทธิ เสรีภาพที่จะนับถือศาสนาแตกต่างกันได้ ซึ่งบุคคลอื่นในสังคมรวมทั้งรัฐจะต้องให้ความเคารพสิทธิเสรีภาพในเรื่องนี้ด้วย 4) เสรีภาพในทางวิชาการ เยาวชนไทยทุกคนจะต้องได้รับการศึกษาขึ้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้คนไทยทุกคนยังมีสิทธิในการที่จะศึกษาค้นหว้าหรือทำวิจัยตามที่ต้องการ โดยไม่ขัดต่อกฏหมาย 5)เสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบโดยปราศจากอาวุธ หมายถึง ประชาชนทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมแต่ต้องเป็นไปโดยสงบ ปราศจากอาวุธ และต้องไม่รบกวนสิทธิของผู้อื่น การปราศจากอาวุธนั้น หมายรวมถึง ห้ามทุกคนที่มาร่วมชุมนุมพกพาอาวุธเข้ามามาในที่ขุมนุมเด็กขาด บุคคลใดพกพาอาวุธเข้ามาในที่ขุมนุม บุคคลนั้นจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญในกรณีที่ได้กล่าวมาข้างต้น 6) สิทธิเสรีภาพในการอนุรักษ์และฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทุกคนย่อมมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และร่วมสืบสานศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นและของประเทศชาติเพื่อให้ดำรงอยู่้ต่อไปกับอนุชนรุ่นหลัง 7) สิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพ โดยเสรีภาพในหารประกอบอาชีพจะต้องไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น เช่น ผู้ประกอบการจะต้องเคารพและซื่อสัตย์ต่อผู้บริโภค และไม่เอาเปรียบผู้บริโภค เป็นต้น3. การเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่นที่มีต่อประเทศชาติ 1) สิทธิในการมีส่วนร่วม ในที่นี้ หมายถึง สิทธิการมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการด้านการปกครอง อันมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของคนในสังคมโดยตรง 2) สิทธิที่จะฟ้องร้องหน่อยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือองค์กรของรัฐที่เป็นนิติบุคคล ประชาชนมีสิทธิที่จะฟ้องร้องหน่วยงานต่าง ๆเหล่านี้ให้รับผิดชอบ หากการกระทำใด ๆหรือการละเว้นการกระทำใด ๆของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานนั้น ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนต่อศาลปกครอง 3) สิทธิที่จะต่อต้านโดยสันติวิธี การกระทำใดจะที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติได้ในรัฐธรรมนูญ เช่นการต่อต้านการทำปฏิวัติรัฐประหาร เป็นสิ่งที่ประชาชนมีสิทธิที่จะออกมาต่อต้าน แต่ต้องเป็นไปโดยสันติวิธีแนวทางการปฏิบัติตนในการเคารพสิทธิของตนเองและผู้ื่อื่นการปฏิบัติตนตามสิทธิของตนเองและผู้อื่นในสังคม เป็นสิ่งที่ช่วยจัดระเบียบให้กับสังคมสงบสุข โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้ 1. เคารพสิทธิของกันและกัน โดยไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้ื่อื่น สามารถแสดงออกได้หลายประการ เช่น การแสดงความคิดเห็น การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้ื่อื่น เป็นต้น 2. รู้จักใช้สิทธิของตนเองและแนะนำให้ผู้อื่นรู้จักใช้สิทธิของตนเอง 3. เรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสิทธิเสรีภาพตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น สิทธิเสรีภาพของความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพในเคหสถาน เป็นต้น 4. ปฏิบัติตามหน้าที่ของชาวไทยตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น การออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง การเสียภาษีให้รัฐเพื่อนำเงินมาพัฒนาประเทศ เป็นต้นผลที่ได้รับจากการกฏิบัติตนเคารพสิทธิของตนเองและผู้ื่อื่น 1. ผลที่เกิดกับประเทศชาติ หากประชาชนมีความสมัครสมานรักใคร่สมัคคี ไม่มีความแตกแยก ไม่แบ่งเป็นพวกเป็นเหล่า บ้านเมืองก็จะสงบสุขเกิดสวัสดิภาพ บรรยากาศโดยรวมก็จะสดใส ปราศจากการระแวงต่อกัน การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆสามารถดำเนินไปอย่างราบรื่น นักลงทุน นักท่องเที่ยวก็จะเดินทางมาเยือนประเทศของเราด้วยความมั่นใจ 2. ผลที่เกิดขึ้นกับชุมชนหรือสังคม เมื่อประชาชนในสังคมรู้จักสิทธิของตนเอง และของคนอื่น ก็จะทำพาให้ชุมชนหรือสังคมเกิดการพัฒนา เมื่อสังคมมั่นคงเข้มแข็งก็จะมีส่วนทำให้ประเทศชาติเข้มแข็ง เพราะชุมชนหรือสังคมเป็นส่วนหนึ่งของประเทศชาตบ้านเมืองโดยรวม 3. ผลที่เกิดขึ้นกับครอบครัว ครอบครัวเป็นสถาบันแรกของสังคม เมื่อครอบครัวเข้มแข็ง และอบรมสั่งสอนให้สมาชิกในครอบครัวทุกคนรู้บทบาท สิทธิ เสรีภาพของตนเองและปฏิบัติตามที่กฏหมายและรัฐธรรมนูญได้ให้ความคุ้มครองได้อย่างเคร่งครัด โดยไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของสมาชิกอื่นในสังคม ก็จะนำพาให้สังคมและประเทศชาติเข้มแข็งตามไปด้วย
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก : ไพศาล ภู่ไพบูลย์ อังคณา ตติรัตน์ และปนัดดา มีสมบัติงาม. หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม

สมุนไพรรักษาโรค


พืชสมุนไพร เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรอันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อยๆ และถูกทอดทิ้งไปในที่สุด ความจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้ๆ กันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวาง แต่เป็นเพราะว่าเราใช้วิธีรักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาหลักถูกลืมจนต่อไม่ติด
ภาครัฐเริ่มกลับมาเห็นคุณค่าของสมุนไพรไทยอีกครั้งด้วยการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาไว้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2535 ว่า " ให้มีการผสมผสานการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเข้ากับระบบบริการสาธารณสุขของชุมชนอย่างเหมาะสม"
บทความข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งในคำนำของหนังสือ "สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด" ซึ่งเภสัชกรหญิงสุนทรี สิงหบุตรา เภสัชกรด้านเภสัชสาธารณสุข หัวหน้าฝ่ายวิชาการ กองเภสัชกรรม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้รวบรวมและเรียบเรียง ได้บันทึกไว้ ซึ่งต่อมาทางสำนักอนามัยฯ ได้นำหนังสือดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อใช้ประโยชน์ในงานของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ การนี้ ทางโครงการฯ เห็นว่าเนื้อหาในหนังสือมีคุณค่าและให้ประโยชน์กับผู้ที่ร่วมงานกับโครงการฯ รวมถึงบุคคลทั่วไป จึงได้นำขึ้นเผยแพร่ในเวบไซต์โครงการฯ จึงหวังว่าผู้ที่เข้ามาหาข้อมูลและได้อ่านเรื่องต่างๆ ในเวบไซต์นี้คงได้รับความรู้และอาจนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองหรือบุคคลรอบข้างได้ไม่มากก็น้อย..

โขนของไทย



โขนเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทย ที่รวมเอาศิลปะหลายแขนงเข้าไว้ด้วยกัน โขนเป็นนาฏศิลป์ที่ผู้แสดงต้องสวมหน้ากากที่เรียกว่า “หัวโขน” และเต้นประกอบจังหวะ ร่ายรำหรือตีบทให้เข้ากับคำร้อง บทพากย์และบทเจรจา จึงอาจกล่าวได้ว่า “โขนเป็นที่รวมของศิลป” (ธนิต อยู่โพธิ์ 2508 : 20) ซึ่งจะขอยกตัวอย่างให้เห็นว่า ศิลปะต่างๆ ได้ร่วมไว้ในการแสดงโขนได้อย่างกลมกลืน คือ



1. การแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์ คนไทยได้รับแบบแผนมาจากขอมตั้งแต่สมัย สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 การเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์เป็นการเล่นตามเรื่องโบราณ ของอินเดีย ซึ่งมีต้นกำเนิดหรือมูลเหตุมาจากตำนาน การกวนน้ำอมฤต โดยผู้เล่นจะแต่งกายเป็นพวกเทวดา ยักษ์และลิง เนื่องจากเป็นการเล่นในพระราชพิธี ดังนั้น ผู้เล่นจึงต้องแสดงท่าทางการชักนาคและอื่น ๆ ตามแบบการแสดงละครมากกว่าจะออกท่าโลดเต้นอย่าง อิสระ “การชักนาคดึกดำบรรพ์" เคยมีอยู่ครั้งเดียวเพื่อกวนน้ำอมฤตและกระทำที่เกษียรสมุทรโดย พระนารายณ์ได้ยก เอาเขาพระสุเมรุมาปักลงกลางเกษียรสมุทรเอานาคพันเข้าโดยรอบ แล้วให้เทวดาชักทาง ด้านหางของนาคและให้พวกยักษ์ชักทางด้านหัวนาค การชักนาคกันคนละทีนี้ ทำให้เขาพระสุเมรุหมุนไปหมุนมาอยู่กลางเกษียรสมุทร ทำให้เกิดแรงเหวี่ยงขึ้นเหมือนกับการทำเนย เพราะเกษียรสมุทรก็คือ ทะเลน้ำนมในคติของศาสนาฮินดู ดังนั้น ความหมายของคำว่า “ดึกดำบรรพ์” ก็น่าจะแปลว่า “กวนน้ำ” … เมื่อดูจากภาษาเขมร คำว่า “ดึก” น่าจะมาจาก คำว่า “ตึก” ที่แปลว่า น้ำ และคำว่า “ดำบรรพ์” หากฟังแต่เสียงน่าจะมาจากภาษาเขมรว่า “ตะบัล” แปลว่า ตำหรือกวน การชักนาคที่พันอยู่รอบเขาพระสุเมรุนั้น จะต้องทำให้เขาพระสุเมรุขึ้น ๆ ลง ๆ ซึ่งตรงกับอาการตำหรืออาการ ตะบัน ดังนั้น ดึกดำบรรพ์ ก็แปลว่า การตะบันน้ำนั่นเองและการตะบันน้ำนมในเกษียรสมุทรนั้นทำให้เกิด น้ำอมฤตขึ้น ในที่สุด” การแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์ ต้องเป็นการแสดงที่ใหญ่โตใช้คนแสดงจำนวนมาก ซึ่งต้องมี ค่าใช้จ่ายมาก จึงไม่ค่อยมีแสดงบ่อยนัก อาจแสดงได้เพียงรัชกาลละครั้งตอนต้นรัชกาล และไม่นานนักก็สูญหาย ไปคงเหลือแต่ การแสดงรามเกียรติ์ ซึ่งเป็นเรื่องนารายณ์อวตารอีกปางหนึ่งที่รู้กันในปัจจุบันว่า “โขน” ครั้งแรก ก็เป็นได้ (คึกฤทธิ์ ปราโมช . 2541 : 42) สิ่งที่โขนได้รับแบบอย่างมากจากชักนาคดึกดำบรรพ์ คือโขนได้นำเอา การแต่งกายของตัวละคร มาใช้ในการแต่งกายของการแสดงโขน (กลับไปด้านบน)
2. กถกฬิ (กะ-ถะ-กะ-ลิ) เป็นละครพื้นเมืองของอินเดียทางใต้ของคาบสมุทรเดกข่าน แสดงในรัฐเกระล่า (Kerala)และแถบฝั่งมลบาร์ (Malabar) เริ่มแรก กถกฬิที่แสดงเรื่องเกี่ยวกับพระกฤษณะต่อมานำเค้าโครงเรื่องของพระรามมาแต่งเป็นโศลก และในระยะหลังๆ ก็นำเรื่องในคัมภีร์ปุราณะต่างมาแสดงด้วย “กถ” (กะ-ถะ) เป็นคำในภาษาสันสกฤต แปลว่า นิยาย “กฬิ” (กะ-ลิ) เป็นคำในภาษามาลยลั่ม (Malayalam) แปลว่าการเล่น แรกเริ่มกถกฬิแสดงได้แต่ในเทวสถานหรือในราชสำนัก เท่านั้น ต่อมาได้รับอนุญาตให้เล่นนอกเทวสถานได้ เพื่อที่จะให้คนชั้นต่ำได้มีโอกาสชมการแสดงได้ ในการเล่นกถกฬิแต่เดิมผู้แสดงต้องสวมหน้ากาก และในระยะหลัง จึงเลิก และใช้วิธีตามแต่งใบหน้าซึ่งเป็นศิลปะที่หวงแหนปกปิดกันมาก มีพิธีรีตองและใช้เวลาในการแต่งหน้านานมากกว่า 10 ชั่วโมง หน้ากากเป็นหลักฐานอย่างหนึ่งที่ แสดงว่า กถกฬิคงจะเป็นต้นเค้าของนาฏกรรมชาติต่างๆ ในแถบภูมิภาคเอเชีย เช่นละครโนะของญี่ปุ่น โขนของไทย และละครของอินโดนีเซีย เพราะการละเล่นของทั้ง สามชนิดนี้ ต้องสวมหน้ากากทั้งสิ้น โดยเฉพาะโขนของไทยเชื่อว่าคงได้รับอิทธิพลจากกถกฬิ เพราะนอกจากหน้ากากแล้ว ยังใช้ตัวละครที่เป็นผู้ชายเหมือนกันและเรื่อง ที่เล่นเหมือนกัน (นิยะดา สาริกภูติ. 2515 : 31 – 37)

การแสดงโขนน่าจะได้รับอิทธิพลจากละครกถกฬิในด้านวิธีการแสดง นั่นคือผู้แสดงจะ ต้องสวมหน้ากากมีผู้พากย์และผู้เจรจาแทนผู้แสดง ผู้แสดงเป็นผู้ชาย และนอก จากนี้ ธรรมเนียมในการแสดงที่คล้ายคลึงกันคือจะไม่แสดงในเคหสถานคนสามัญธรรมดา (กลับไปด้านบน)


3. กระบี่กระบอง ในสมัยโบราณมีการละเล่นที่เรียกว่า “สรรพยุทธ และสรรพคิลา” ซึ่งมีความหมายดังนี้ “สรรพยุทธ” อาจหมายถึงการต่อสู้ด้วยอาวุธ หรือที่เรียกกัน ว่า “กระบี่กระบอง” “สรรพคิลา” อาจหมายถึง การกีฬาที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้ เช่น “ฬ่อช้าง รันแทะวัวชน กระบือชน ชุมพาชน ช้างชน คนชน ปรบไก่ คลีชง โคน ปล้ำมวย ตีดั้ง ฟันแย้ง เชียงแวง เล่นกล คลีม้า เป็นต้น … การละเล่นที่เกี่ยวกับการต่อสู้ หรือกีฬาเหล่านี้ล้วนเป็นพฤติกรรมธรรมดาของผู้คนทุกเผ่าพันธ์ที่ต่างก็มีวิถีชีวิต และมีพัฒนาการอยู่ใน ท้องถิ่น และในสภาพแวดล้อมเป็นของตัวเองมาแต่ครั้งดั้งเดิมดึกดำบรรพ์เหมือนกัน ทุกชาติทุกภาษา จึงมักเรียกชื่อการละเล่นเหล่านี้อย่างรวมๆ ว่า “รำอาวุธ” แต่ในเอกสารเก่าเรียก “รำเต้น” โดยมีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า War Dance หรือ “วีรชัย” ที่สมัยหลังเรียก “กระบี่กระบอง” (สุจิตต์ วงษ์เทศ : 2532 : 184 – 185 ; อ้างอิงมาจาก มร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช : 2526 ธนิต อยู่โพธิ์ 2526) กระบี่กระบองเป็นวิชาการต่อสู้ของไทยมาแต่โบราณ เพื่อต้องการฝึกฝนให้เป็นกำลัง ให้แก่ชาติบ้านเมือง แล้วนำมาดัดแปลงมาเล่นประลองฝีมือกันเพื่อความสนุกสนาน ในยามว่างจากการศึก ท่วงท่าของการเคลื่อนไหวของการเล่นกระบี่กระบอง ศิลปะของ เพลงได้นำมาใช้ใน การแสดงโขน เช่น การตรวจพล ยกทัพ ต่อสู้ เป็นต้น (กลับไปด้านบน)
4. หนังใหญ่ เป็นการแสดงที่ใช้แผ่นหนังสัตว์แกะสลัก และเชิดให้ผู้ชมดูภาพหนังที่ทาบบนจอพร้อมทั้ง ฟังเสียงพากย์ เจรจา และดนตรีประกอบ หนังใหญ่เป็นมหรสพที่เล่นกันมาเป็นเวลานานแล้ว เดิมเรียกว่า “หนัง” ต่อมาเมื่อมีการแสดงที่คล้ายกันชั้น จึงเกิดคำเรียกการแสดงหนังแบบดั้งเดิมว่า “หนังใหญ่” และหนัง ที่เกิดขึ้นใหม่ว่า “หนังตะลุง” (สุวรรณี อุดมผล. มปป. : 33)

ในการแสดงหนังใหญ่บุคคลที่มีความสำคัญได้แก่ผู้เชิด และคนพากย์ – เจรจา คนเชิดจะต้องจับตัวหนังชูขึ้น แล้วเต้นตามจังหวะเพลงและคำพากย์ – เจรจา เพื่อให้ตัวหนังซึ่งเป็นภาพนิ่งดูมีชีวิตชีวา นอกจากนี้ผู้พากย์ - เจรจา และผู้เล่นดนตรีเป็นบุคคลสำคัญที่จะทำให้ผู้ชมเข้าใจเรื่องราว ซึ่งผู้พากย์ – เจรจา ต้องรู้จักเพลงหน้า พาทย์เพื่อจะได้บอกให้นักดนตรีบรรเลงเพลงประกอบได้เหมาะกับเรื่อง เรื่องที่ใช้แสดงหนังใหญ่ส่วนใหญ่ จะเป็นเรื่องรามเกียรติ์ หรือบางทีก็เล่นเรื่อง สมุทรโฆษคำฉันท์ และอนิรุธคำฉันท์

โขนได้นำเอาศิลปะลีลาการเต้น คำพากย์ – เจรจา และเรื่องที่ใช้แสดง ตลอดจนดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง มาจากการแสดงหนังใหญ่


ดังนั้น จะเห็นได้ว่า กำเนิดของโขน หรือที่มาของโขนนั้นมาจากากรแสดงหลายประเภท ซึ่งเป็นทั้งการแสดงของไทย และของวัฒนธรรมอินเดีย ซึ่งหลอมเป็นนาฏกรรม ที่ยิ่งใหญ่ และอลังการประเภทหนึ่งของไทย

สำนวน สุภาษิตไทย


สำนวน สุภาษิต คำพังเพยหมวด ค


-คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย สำนวนนี้เป็นที่เข้าใจกันว่า เมื่อเวลาไปไหนคนเดียวไม่ปลอดภัยนัก อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เรียกว่า ” หัวหาย ” ถ้าไปด้วยกันสองคน ก็อาจจะช่วยขจัดเหตุร้ายหรือเป็นเพื่อนอุ่นใจได้ดีกว่าไปคนเดียว.-คนตายขายคนเป็น หมายถึงคนที่ตายไปแล้ว มีหนี้สินติดตัวอยู่มาก ทำให้คนที่อยู่ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเป็นญาติพี่น้องต้องรับผิดชอบใช้หนี้ และมิหนำซ้ำต้องเป็นภาระในการจัดทำศพ ซึ่งถ้าหากไม่มีเงินเลยก็ต้องไปกู้หนี้ยืมสินเขามาทำศพด้วย-คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ เปรียบผืนหนังของสัตว์ส่วนมากย่อมจะมีผืนเล็กกว่าเสื่อ ฉะนั้นสำนวนนี้ก็หมายถึงว่า คนที่จะรักเราจริง ๆ มีน้อยแต่คนเกลียดหรือคนชังเรามีเป็นส่วนมากกว่า
-คนล้มอย่าข้าม ไม้ล้มจึงข้าม แปลว่า คนที่เคยมีอำนาจและวาสนามาก่อน แต่ต้องตกต่ำลงก็อย่าเพิ่งไปคิดดูถูกเหยียบย่ำเข้า เพราะเขาอาจกลับฟื้นฟูขึ้นอีกได้ ไม่เหมือนไม้ที่ไม่มีชีวิตวางทิ้งไว้จะข้ามจะเหยียบอย่างไรก็ได้.-คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล สำนวนนี้ มีความหมายหรือคำบรรยายอยู่ในตัวแล้ว คือคบคนชั่ว คนชั่วก็ชักพาเราให้พลอยไปทำชั่วด้วย ถ้าคบคนดีมีความรู้ ก็ทำให้เราได้รับผลดีหรือได้รับความรู้ดีตามไปด้วย.-ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก หมายความว่า มีเรื่องราวเดือดร้อนเกิดขึ้น ยังไม่ทันจะแก้ไขหรือจัดการให้สงบดี ก็เกิดมีเรื่องใหม่ซ้อนขึ้นมาอีก กลายเป็น ๒ เรื่องขึ้นในคราวเดียว.-ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด สำนวนนี้ หมายถึงคนที่มีวิชาความรู้ดี หรือรู้สารพัดเกือบทุกอย่าง แต่ถึงคราวเกิดเรื่องขึ้นกับตัวเอง กลับจนปัญญาแก้ไข หรือความหมายอีกทางหนึ่งว่า มีความรู้อยู่มากมายแต่ใช้วิชาหากินไม่ถูกช่อง ทำให้ต้องตกอยู่ในฐานะยากจนอยู่เรื่อยมา สู้คนที่ไม่รู้หนังสือเลย แต่หากินจนร่ำรวยไม่ได้-โค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ สำนวนนี้ มีประโยคต่อท้ายสัมผัสกันด้วยว่า ” ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก ” แต่เรามักพูดสั้น ๆ ว่า ” โค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ ” หมายความว่าจะคิดกำจัดศัตรู ปราบพวกคนพาลให้หมดสิ้นทีเดียวแล้ว ก็ต้องปราบให้เรียบอย่าให้พรรคพวกของมันเหลือไว้เลยแม้แต่คนเดียว มิฉะนั้นพวกที่เหลือนี้จะกลับฟื้นฟูกำลังขึ้นมาเป็นศัตรูกับเราภายหน้าได้อีก ทำนองเดียวกับที่ว่า ถ้าเราจะขุดตอไม้ทิ้ง เราก็ต้องขุดทั้งรากทั้งโคนมันออกให้หมดอย่าให้เหลือไว้จนมันงอกขึ้นมาภายหลังได้อีก-คมในฝัก ลักษณะของผู้ฉลาด แต่นิ่งเงียบ ไม่แสดงความฉลาดนั้นออกมาโดยไม่จำเป็น มีความรู้ความสามารถ แต่เมื่อยังไม่ถึงเวลาก็ไม่แสดงออกมาให้ปรากฏ-ความวัวไม่ทันหายความควายเข้ามาแทรก ความวุ่นวายเดือดร้อนอีกอย่างหนึ่งเกิดขึ้นมีไม่รู้จบสิ้นหรือผ่านพ้นไป ความวุ่นวาย เดือดร้อนอีกอย่างหนึ่งเกิดขึ้นมาอีก -คางคกขึ้นวอ คนมีฐานะต่ำต้อย พอได้ดิบได้ดีก็มักแสดงกิริยา อวดดีจนลืมตัว-คลุมถุงชน การแต่งงานที่ผู้ใหญ่จัดให้โดยที่ผู้แต่งงานไม่เคยรู้จักกัน และไม่มีโอกาสเลือกคู่ครองเอง-คว้าน้ำเหลว การทำสิ่งใดด้วยความตั้งแล้วไม่สำเร็จ ไม่ได้ผลตามที่ต้องการ
-คว่ำบาตร ประกาศไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วยไม่ร่วมงานด้วย-คาบลูกคาบดอก ไม่แน่ว่าจะเป็นอย่างไหน ก่ำกึ่งกันอยู่-คืบก็ทะเลศอกก็ทะเล อย่าประมาททะเลเพราะอาจเกิดอันตรายได้ทุกเมื่อ-คู่แล้วไม่แคล้วกัน คู่ที่เคยสร้างบุญกุศลร่วมกัน เคยเป็นคู่กันมาก่อนย่อมไม่แคล้วคลาดกัน-คลื่นกระทบฝั่ง เรื่องที่เกิดขึ้นอย่างครึกโครม ทำท่าจะเป็นเรื่องใหญ่ แต่แล้วกลับ

วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553


พระราชกรณียกิจด้านการเกษตรและการยกระดับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน


การเกษตรนั้นถือได้ว่าเป็นทั้งรากฐานและ ชีวิตสำหรับประเทศของเรา เพราะคนไทยเราส่วนใหญ่เป็นผู้มีอาชีพทางเกษตรกรรม. ข้าพเจ้าจึงมีความเห็นเสมอมาว่า วิธีการพัฒนาที่เหมาะสมแก่ประเทศเราอย่างยิ่ง ก็คือจะต้องทำนุบำรุงเกษตรกรรมทุกสาขาให้พัฒนาก้าวหน้า เพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรทุกระดับให้สูงขึ้น

ด้านการเกษตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนใจด้านนี้ พระองค์ได้เสด็จเยี่ยม ไต่ถามความทุกข์สุขของประชาชน และรับฟังข้อปัญหาเกิดเป็นโครงการตามพระราชดำริต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการชลประทาน การพัฒนาดิน การวิจัยพันธุ์พืชและปศุสัตว์ เป็นต้น ดังหัวข้อต่อไปนี้
ทรัพยากรน้ำ
ทรัพยากรน้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งต่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร พระราชดำรัสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เคยพระราชทานแก่ คณะผู้อำนวยการสำนักงาน คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ว่า

หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตนั้นอยู่ที่น้ำ ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้

โครงการตามพระราชดำริของพระองค์ มีทั้งการแก้ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาอุทกภัย รวมไปถึงการบำบัดน้ำเสีย โครงการพัฒนาแหล่งน้ำมีทั้งโครงการขนาดใหญ่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาทั้งภัยแล้ง และน้ำท่วมได้ เช่น เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่จังหวัดลพบุรี จนถึงโครงการขนาดกลางและเล็กจำพวก ฝาย อ่างเก็บน้ำ โดยพระองค์ทรงคำนึงถึงลักษณะของภูมิประเทศ สภาพแหล่งน้ำ ความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ ประชาชนที่ได้รับประโยชน์และผลกระทบจากโครงการ มาเป็นหลักในการพิจารณา พระองค์ได้ทรงวิจัยและริเริ่มโครงการฝนหลวง เพื่อช่วยบรรเทาภัยแล้งสำหรับพื้นที่นอกเขตชลประทาน
ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลที่ประสบปัญหาน้ำท่วม และน้ำเน่าเสียในคูคลอง ทรงมีพระราชดำริเรื่องแก้มลิง ควบคุมการระบายน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน ลำคลองต่าง ๆ ลงสู่อ่าวไทยตามจังหวะการขึ้นลงของระดับน้ำทะเล ทั้งยังเป็นการใช้น้ำดีไล่น้ำเสียออกจากคลองได้อีกด้วย เครื่องกลเติมอากาศ กังหันชัยพัฒนา ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำโดยการเพิ่มออกซิเจน เป็นสิ่งประดิษฐ์หนึ่งของพระองค์ที่ได้รับสิทธิบัตรจาก กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพานิชย์ เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖อ่านต่อ : http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1223922#ixzz19JQDeYti

สถานที่ท่องเที่ยวในภูเก็ต



ภูเก็ต เป็นเกาะใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลตะวันตกของประเทศไทย ในน่านน้ำทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย มีพื้นที่ประมาณ 543 ตารางกิโลเมตร ความยาวสุดของเกาะภูเก็ตวัดจากทิศเหนือถึงทิศใต้ประมาณ 47.8 กิโลเมตร และส่วนกว้างที่สุด วัดจากทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตกประมาณ 21.3 กิโลเมตร
มีภูมิอากาศแบบฝนเมืองร้อนมีลมพัดผ่านตลอดเวลา อากาศอบอุ่นและชุ่มชื้นตลอดปี มี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน ฤดูฝนเริ่มเดือนพฤษภาคม-ปลายเดือนตุลาคม ฤดูร้อนเริ่มประมาณเดือนพฤศจิกายน-เดือนเมษายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยสูงสุดประมาณ 33 อาศาเซลเซียส ต่ำสุด 23 องศาเซลเซียส ช่วงที่อากาศดีที่สุด อยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน ไม่มีฝน ท้องฟ้าแจ่มใส อุณหภูมิประมาณ 31 องศาเซลเซียส
ประชากรของจังหวัดภูเก็ตส่วนใหญ่เป็นคนไทย นอกนั้นมีชาวมลายู แขก ซิกซ์ ปาทานกลิงค์กรูซ่า ชาวเล และชาวต่างชาติอื่นๆ ภาษาที่ใช้ในภูเก็ตมี 2 ภาษา คือ ภาษาไทย ซึ่งใช้ในราชการเป็นภาษากลาง และภาษาท้องถิ่น ซึ่งเป็นภาษาปักษ์ใต้ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง อาชีพของพลเมืองในด้านการเกษตร ส่วนใหญ่ทำสวนยางพารา สวนมะพร้าว สวนผลไม้
ในด้านอุตสาหกรรมมีการทำเหมืองแร่ดีบุก แร่วุลแฟรม การถลุงแร่ดีบุก การทำยางแผ่นรมควัน และการทำปลาป่น ปลากระป๋อง เป็นต้น และขณะนี้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้ขยายตัวอย่างมาก มีการสร้างโรงแรมขนาดใหญ่ที่ได้มาตรฐาน และมีบริษัทนำเที่ยวเกิดขึ้นหลายแห่ง

ประวัติความเป็นมา :
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พื้นที่บริเวณเกาะภูเก็ตได้มีการเรียกขานกันมาหลายชื่อ ได้แก่ แหลมตะโกลา มณีคราม จังซีลอน ภูเก็จ (ซึ่งหมายถึงภูเขาแก้ว) จนกลายเป็นคำว่า “ภูเก็ต” เป็นเมืองที่มีมานาน ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย โดยตัวเมืองอยู่ที่ถลางซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ เมืองถลางเดิมมีขุนนางไทยคอยดูแลรักษาผลประโยชน์ เพราะฝรั่งชาติฮอลันดามารับซื้อสินค้าจำพวกแร่ ต่อมาถึงรัชกาลที่ 1 พระเจ้ากรุงอังวะยกกองทัพเข้ามารุกรานหัวเมืองฝ่ายตะวันตกแถบชายทะเลของไทยในปี พ.ศ.2328 โดยแบ่งกองทัพยกไปตีเมืองกระ ระนอง ชุมพร ไชยา ตลอดลงไปถึงเมืองนครศรีธรรมราช ขณะนั้นกองทัพกรุงเทพฯ ยังติดพันการศึกที่กาญจนบุรียกมาช่วยไม่ทัน พม่าส่งแม่ทัพชื่อยี่หวุ่น ยกทัพเรือมาตีได้ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า แล้วเลยไปตั้งค่ายล้อมเมืองถลางไว้ ขณะนั้นพระยาถลางถึงแก่กรรม ยังไม่ได้ตั้งเจ้าเมืองใหม่ ภริยาเจ้าเมืองถลางชื่อจัน กับน้องสาวชื่อมุก จึงคิดอ่านกับกรรมการทั้งปวงตั้งค่ายใหญ่ขึ้น 2 ค่าย ป้องกันรักษาเมืองเป็นสามารถ พม่าล้อมเมืองอยู่เดือนเศษเมื่อหมดเสบียงก็เลิกทัพกลับไป
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องยศให้วีรสตรีทั้งสอง เป็นท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทร เป็นที่น่าภาคภูมิใจแก่ชาวเมืองตลอดมา เกาะถลางหรือเมืองถลางได้เปลี่ยนชื่อเป็นเกาะภูเก็ต หรือเมืองภูเก็ตในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ภูเก็ต ได้ชื่อว่าเป็นไข่มุกแห่งอันดามัน เมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ในด้านความสวยงามของทิวทัศน์ และหาดทราย น้ำทะเลสีฟ้าใส พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวครบครัน เป็นเกาะใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลตะวันตกของประเทศไทยในน่านน้ำทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย มีพื้นที่ประมาณ 543 ตารางกิโลเมตร ความยาวสุดของเกาะภูเก็ตวัดจากทิศเหนือถึงทิศใต้ประมาณ 48.7 กิโลเมตร และส่วนกว้างที่สุดวัดจากทิศตะวันออก ถึงทิศตะวันตกประมาณ 21.3 กิโลเมตร ภูเก็ตแบ่งออกเป็น 3 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอถลาง และอำเภอกะทู้

วันสำคัญของไทย


ประวัติวันสำคัญ ประจำปี ของประเทศไทย



วันสำคัญ เดือนมกราคม


วันที่ 1 มกราคม : วันขึ้นปีใหม่
วันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม : วันเด็กแห่งชาติ
วันที่ 13 มกราคม : วันการบินแห่งชาติ
วันที่ 14 มกราคม : วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ
วันที่ 16 มกราคม : วันครู
วันที่ 17 มกราคม : วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
วันที่ 17 มกราคม : วันโคนมแห่งชาติ
วันที่ 25 มกราคม : วันกองทัพไทย

วันสำคัญ เดือนกุมภาพันธ์


วันที่ 2 กุมภาพันธ์ : วันนักประดิษฐ์
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ : วันทหารผ่านศึก
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ : วันอาสารักษาดินแดน
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ : วันศิลปินแห่งชาติ
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ : วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ : วันสหกรณ์แห่งชาติ
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 : วันมาฆบูชา

วันสำคัญ เดือนมีนาคม


วันที่ 5 มีนาคม : วันนักข่าว/วันสื่อสารมวลชนแห่งชาติ
วันที่ 8 มีนาคม : วันสตรีสากล
วันที่ 13 มีนาคม : วันช้างไทย
วันที่ 20 มีนาคม : วันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ
วันที่ 22 มีนาคม : วันน้ำของโลก
วันที่ 27 มีนาคม : วันกองทัพอากาศ

วันสำคัญ เดือนเมษายน


วันที่ 1 เมษายน : วันออมสิน
วันที่ 1 เมษายน : วันข้าราชการพลเรือน
วันที่ 2 เมษายน : วันอนุรักษ์มรดกไทย
วันที่ 6 เมษายน : วันจักรี
วันที่ 13 14 15 เมษายน : วันสงกรานต์
วันที่ 13 เมษายน : วันผู้สูงอายุ
วันที่ 13 เมษายน : วันประมงแห่งชาติ
วันที่ 14 เมษายน : วันครอบครัว
วันที่ 22 เมษายน : วันคุ้มครองโลก
วันที่ 24 เมษายน : วันเทศบาล

วันสำคัญ เดือนพฤษภาคม


วันที่ 1 พฤษภาคม : วันแรงงานแห่งชาติ/วันกรรมกรสากล
วันที่ 5 พฤษภาคม : วันฉัตรมงคล
ข้างขึ้น เดือน 6 : วันพืชมงคล
ขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 : วันวิสาขบูชา
ขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 : วันต้นไม้แห่งชาติ
วันที่ 31 พฤษภาคม : วันงดสูบบุหรี่โลก

วันสำคัญ เดือนมิถุนายน


วันที่ 5 มิถุนายน : วันสิ่งแวดล้อมโลก
วันที่ 9 มิถุนายน : วันอานันทมหิดล
วันที่ 24 มิถุนายน : วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง
วันที่ 26 มิถุนายน : วันสุนทรภู่
วันที่ 26 มิถุนายน : วันต่อต้านยาเสพติด

วันสำคัญ เดือนกรกฎาคม


วันที่ 1 กรกฎาคม : วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 : วันอาสาฬหบูชา
แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 : วันเข้าพรรษา
วันที่ 29 กรกฎาคม : วันภาษาไทยแห่งชาติ

วันสำคัญ เดือนสิงหาคม


วันที่ 4 สิงหาคม : วันสื่อสารแห่งชาติ
วันที่ 7 สิงหาคม : วันรพี
วันที่ 12 สิงหาคม : วันแม่แห่งชาติ
วันที่ 12 สิงหาคม : วันฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
วันที่ 18 สิงหาคม : วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

วันสำคัญ เดือนกันยายน


วันที่ 1 กันยายน : วันสืบ นาคะเสถียร
วันที่ 6 กันยายน : วันทรงดนตรี
วันที่ 15 กันยายน : วันศิลป์ พีระศรี
วันที่ 16 กันยายน : วันโอโซนโลก
วันที่ 20 กันยายน : วันเยาวชนแห่งชาติ
วันที่ 20 กันยายน : วันอนุรักษ์รักษาคูคลองแห่งชาติ
วันที่ 24 กันยายน : วันมหิดล
วันสำคัญ เดือนตุลาคม


แรม 15 ค่ำ เดือน 10 : วันสารทไทย
ขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 : วันออกพรรษา
วันที่ 13 ตุลาคม : วันตำรวจ
วันที่ 14 ตุลาคม : วันประชาธิปไตย
วันที่ 19 ตุลาคม : วันเทคโนโลยีของไทย
วันที่ 21 ตุลาคม : วันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ
วันที่ 21 ตุลาคม : วันพยาบาลแห่งชาติ
วันที่ 21 ตุลาคม : วันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ
วันที่ 21 ตุลาคม : วันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ
วันที่ 23 ตุลาคม : วันปิยะมหาราช
วันที่ 24 ตุลาคม : วันสหประชาชาติ
วันที่ 31 ตุลาคม : วันออมแห่งชาติ
วันที่ 31 ตุลาคม : วันฮาโลวีน/Halloween
วันสำคัญ เดือนพฤศจิกายน


ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 : วันลอยกระทง
เสาร์สัปดาห์ที่ 2 เดือนพฤศจิกายน : วันคนพิการ
14 พฤศจิกายน : วันบิดาแห่งฝนหลวง
20 พฤศจิกายน : วันกองทัพเรือ
25 พฤษจิกายน : วันวชิราวุธ - วันประถมศึกษา
27 พฤศจิกายน : วันสาธารณสุขแห่งชาติ
วันสำคัญ เดือนธันวาคม


1 ธันวาคม : วันต้านเอดส์โลก วันเอดส์โลก
4 ธันวาคม : วันสิ่งแวดล้อมไทย
5 ธันวาคม : วันพ่อแห่งชาติ
5 ธันวาคม : วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
10 ธันวาคม : วันรัฐธรรมนูญ
16 ธันวาคม : วันกีฬาแห่งชาติ
25 ธันวาคม : วันคริสต์มาส (Merry Christmas)
26 ธันวาคม : วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ
28 ธันวาคม : วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

โทดของยาลดความอ้วน


โทษของยาลดความอ้วน

1 Phentermine HCL เป็นยาหลักที่ใช้กดสมองส่วนกลางไม่ให้เกิดความอยากอาหาร ยาชนิดนี้ เป็นยาที่ดัดแปลงมาจากยาแอมเฟตามีน (Amphetamine) ที่ อย. อนุญาตให้ขายในเมืองไทยมีขนาด 15 และ 30 mg ผลข้างเคียงที่อาจพบได้คือ กระวนกระวาย ปวดศีรษะ เหงื่อออก ปากแห้ง คลื่นไส้ ท้องอืด ส่วนใหญ่จะเกิด yoyo effect หลังหยุดยา ไม่ควรใช้เกิน 30 mg /วัน เพราะฉนั้นถามผู้ที่จ่ายยาคุณก่อนรับทุกครั้งนะคะ ลักษณะเม็ดยา มักจะเป็น capsule สี เขียวเข้ม-ขาว,แดง-ขาว,และเป็น capsule ที่เป็นเม็ดเล็กๆข้างใน 2 Thyroid hormone อันตรายมากกกกกกกกกกกกกก!!!!!!!!!!!!!!!!!!!! มีสีต่างๆกัน ในคนปกติ ถ้ากินจะมีอาการเหมือนคนที่เป็นคอพอกเป็นพิษ ใจสั่น วูบวาบ คนจ่ายยามักใช้เพื่อเร่งการเผาผลาญ (metabolism)
3 ยาขับปัสสาวะ มักเป็น lasix หรือ HCTZ เม็ดอาจเป็นสี ขาว ส้ม ฟ้า แล้วแต่ แต่ไม่รู้ให้มาทำไมฉี่บ่อย กินไปก้อออกแต่น้ำอันตรายหนักเข้าไปอีกบ้าจริงๆ เนื่องจากหมอจะใช้เป็นยาลดความดันค่ะ ลองนึกดูว่าถ้าคนความดันปกติไปกินล่ะก้อ ความดันตกฮวบแน่ๆ
4 ยาระบาย อันนี้พอไหวเนื่องจาก phentermine ทำให้ท้องผูก
5 ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ถ้าไม่ให้ในขนาดที่สูงเกินไปก้อพอทนรับได้ แต่ถ้าเราไม่ได้กินอาหารเลยล่ะก้อ เสร็จแน่ๆ ระดับน้ำตาลในเลือดถ้าต่ำกว่า 70 mg/dl ละก้อ จะอ่อนเพลีย แต่ถ้าต่ำกว่า 50 ละก้อ ช้ากแหง่กๆๆๆๆ สถานเดียว
6 Fluoxetin ยาชนิดนี้ เป็นยาลดอาการซึมเศร้า แต่มีผลต่อการลดน้ำหนักด้วย ขนาดปกติที่ใช้คือ 60 มิลลิกรัมต่อวัน ยังไม่ทราบกลไกการออกฤทธิ์ที่แน่นอน โดยเชื่อว่ายาจะทำให้ความอยากอาหารลดลง เพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาชนิดนี้คือ อ่อนเพลีย ท้องเดิน เหงื่อออก นอนไม่หลับ กระหายน้ำ คลื่นไส้ อาเจียน 7 ยาหลอก มักเป็นพวกแป้ง หรือวิตามิน ใส่เข้าไปในชุดให้มันดูเยอะๆไปยังงั้นแหละ จะได้คิดราคาแพงๆได้ ****** ถ้าได้ยาเป็น capsule สีเทาแดง ละก้อ นั่นแหละ ยาทำปลอมหรือไม่ก้อเป็นยาที่ถูก อย. เพิกถอนไปแล้วเนื่องจากทำให้ !!!! ตายได้ !!!!
### ยาลดน้ำหนักออกใหม่ที่มีผลข้างเคียงน้อยกว่า
1 Sibutramine (Reductil@ ) มีเพียงยี่ห้อเดียวเท่านั้น เป็น capsule สี น้ำเงินเหลือง (10mg)' และ น้ำเงินขาว (15mg) ถ้าเป็นสีอื่น ยี่ห้ออื่น ของปลอมชัวร์ ออกฤทธิ์ด้วยการช่วยให้ความอยากอาหารน้อยลง เร่งการเผาผลาญนิดหน่อย ไม่ค่อยเกิด yoyo แต่ราคาแพง 10mg =100bath/capsule, 15 mg= 150 bath/ capsule กินได้วันละไม่เกิน 15 mg และห้ามใช้ร่วมกับ phentermine
2 Xenical อันนี้ดี ช่วยดักจับไขมันที่กินเข้าไปทำให้อึ๊ ออกมาเป็นมันแผล็บ แต่ข้อเสียคือ ก้นมันมาก บางครั้งมีไขมันแพลมออกมาก๊ะตด ด้วย อึ๋ย อึ่ย อึ๋ย อ้วก ลักษณะเป็น capsule สีฟ้า ราคาประมาณ 50 bath/ capsule อาจกินเฉพาะวันที่เรากินอาหารมันมาก ไม่จำเป็นต้องกินทุกวัน

โทษของยาเสพติด


ความหมายของยาเสพติด ยาเสพติดให้โทษ


หรือสิ่งเสพติดหมายถึง ยาหรือสารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือวิธีใดก้ตาม ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ ดังนี้1. ต้องการยาเสพติดตลอดเวลา แสดงออกทางร่างกายและจิตใจ2. ต้องเพิ่มขนาดของยาเสพติดมากขึ้น3. มีอาการหยากหรือหิวยาเมื่อขาดยา (บางท่านจะมีอาการถอนยาเมื่อขาดยา)4. สุขภาพทั่วไปทรุดโทรมถ้าพบเห็นบุคคลที่มีพฤติกรรม 4 ประการ ให้พึงสังเกตว่าอาจจะเป็นคนที่ใช้ยาเสติด
ประเภทของยาเสพติดปัจจุบันสิ่งเสพติดหรือยาเสพติดให้โทษมีหลายประเภท อาจจำแนกได้หลายเกณฑ์ นอกจากแบ่งตามแหล่งที่มาแล้ว ยังแบ่งตามการออกฤทธิ์และแบ่งตามกำกฎหมายดังนี้ก.จำแนกตามสิ่งเสพติดที่มา1. ประเภทที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน กระท่อม กัญชา2. ประเภทที่ได้จากการสังเคราะห์ เช่น เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาม้า แอมเฟตามีน สารระเหยข.จำแนกสิ่งเสพติดตามกฎหมาย1. ประเภทถูกกฎหมาย เช่น ยาแก้ไอน้ำดำ บุหรี่ เหล้า กาแฟ ฯลฯ2. ประเภทผิดกฎหมาย เช่น มอร์ฟีน ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา กระท่อม แอมเฟตามีน ฯลฯค.การจำแนกสิ่งเสพติดตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง1.ประเภทกดประสาท เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยากล่อมประสาท ยาระงับประทสาท ยานอนหลับ สารระเหย เครื่องดื่มมึนเมา เช่นเหล้า เบียร์ ฯ2. ประเภทกระตุ้นประสาท เช่น แอมเฟตามีน ยาม้า ใบกระท่อม บุหรี่ กาแฟ โคคาอีน3. ประเภทหลอนประสาท เช่น แอล เอส ดี,เอส ที พี,น้ำมันระเหย4. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน อาจกด กระตุ้น หรือหลอนประสาทผสมรวมกันได้แก่ กัญชา
สาเหตุที่ทำให้เกิดยาเสพติด 1. ติดเพราะฤทธิ์ของยา เมื่อร่างกายมนุษย์ได้รับยาเสพติดเข้าไปฤทธิ์ของยาเสพติดจะทำให้ระบบต่างๆของร่างกายเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งถ้าการใช้ยาไม่บ่อยหรือนานครั้ง ไม่ค่ยมีผลต่อร่างกาย แต่ถ้าใช้ติดต่อเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งจะทำให้มีผลต่อร่างกายและจิตใจ มีลักษณะ 4 ประการ คือ1.1 มีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะเสพยาหรือสารนั้นอีกต่อไปเรื่อๆ1.2 มีความโน้มเอียงที่จะเพิ่มปริมาณของยาเสพติดขึ้นทุดขณะ1.3 ถ้าถึงเวลาที่เกิดความต้องการแล้วไม่ได้เสพ จะเกิดอาการอยากยา หรืออาการขาดยา เช่น หาว อาจียน น้ำตาน้ำมูกไหล ทุรนทุราย คลุ้มคลั้ง โมโห ขาสติ1.4 ยาที่เสพนั้นจะไปทำลายสุขภาพของผู้เสพทั้งร่างกาย ทำให้ซูบผอม มีโรคแทรกซ้อน และทางจิตใจ เกิดอาการทางประสาท จิตใจไม่ปกติ 2. ติดยาเสพติดเพราะสิ่งแวดล้อม2.1 สภาพแวดล้อมภายนอกของบ้านที่อยู่อาศัย เต้มไปด้วยแหล่งค้ายาเสพติด เช่น ใกล้บรเวณศูนย์การค้า หน้าโรงหนัง ซึ่งเป็นการซื้อยาเสพติดทุกรูปแบบ2.2 สิ่งแวดล้อมภายในบ้านขาดความอบอุ่น รวมไปถึงปัญหาชีวิตคนในครอบครัวและฐานะทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมจะทำให้เด้กหันไปพึ่งยาเสพติด การขาดความเอาใจใส่ดูแลจากพ่อแม่ และขาดการยอมรับจากครอบครัว เด็กจะหันไปคบเพื่อนร่อมกลุ่มเพื่อต้องการความอบอุ่น สภาพของกลุ่มเพื่อน สภาพของเพื่อนบ้านใกล้เคียง2.3 สิ่งแวดล้อมทางโรงเรียน เด็กมีปัญหาทางการเรียน เนื่องจากเรียนไม่ทันเพื่อน เบื่อครู เบื่อโรงเรียน ทำให้หนีโรงเรียนไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ตนพอใจ เป็นเหตุให้ตกเป็นเหยื่อของการติดยาเซบติด3. ติดเพราะความผิดปกติทางร่างกายและจิตใจในสังคมที่วุ่นวายสับสน เปลี่ยนแปลงรวดเร้วดังเช่นปัจจุบัน ทำให้จิตใจผิดปกติง่าย หากเป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพอ่อนแอในทุกด้าน ทั้งอารมณ์และสติปัญญา รวมทั้งร่างกายไม่สมบูรณ์แข็งแรงก็จะหาสิ่งยึดเหนี่ยว จะตกเป้นทาสยาเสพติดได้ง่าย ผู้ที่มีอารมณ์วู่วามไม่ค่อยยั้งคิดจะหันเข้าหายาเสพติดเพื่อระงับอารมณ์วู่วามของตน เนื่องจากยาเสพติดมีคุณสมบัติในการกดประสาทและกระตุ้นประสาท ผู้มีจิตใจมั่นคง ขาดความมั่นใจ มีแนวโน้มในการใช้ยาเพื่อบรรเทาความวิตกกังวลของตนให้หมดไปและมีโอกาสติดยาได้ง่ายกว่าผู้อื่น
วิธีสังเกตผู้ติดยาหรือสารเสพติด1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย สุขภาพทรุดโทรม ผอมซีด ทำงานหนักไม่ไหว ริมฝีปากเขียวคล้ำและแห้ง ร่างกายสกปรกมีกลิ่นเหม็น ชอบใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ใส่แว่นดำเพื่อปกปิด2. การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ อารมณ์หงุดงิดง่าย พูดจาร้าวขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด สุบบุหรี่จัด มีอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด หน้าตาซึมเศร้า ขาดความเชื่อมั่น จิตใจอ่อนแอ ใช้เงินเปลือง สิ่งของภายในบ้านสูญหายบ่อย3. แสดงอาการอยากยาเสพติด ตัวสั่น กระตุก ชัก จาม น้ำหมูกไหล ท้องเดิน ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดที่เรียกว่า "ลงแดง" มีไข้ปวดเมื่อยตามร่างกายอย่างรนแรงนอนไม่หลับ ทุรนทุราย4. อาสัยเทคนิคทางการแพทย์ โดยการเก็บปัสสาวะบุคคลที่สงสัยว่าจะติดยาเสพติดส่งตรวจ ใช้ยาบางชนิดที่สามารถล้างฤทธิ์ของยาเสพติด

ดอกไม้หน้าหนาว


2 สถานที่ไฮไลท์ ชมดอกไม้หน้าหนาว


วสันตฤดูผ่านพ้น ฤดูเหมันต์ เดินทางเข้ามาเยือนเมืองไทย พร้อมๆกับการเริ่มต้นของมวลหมู่ดอกไม้ผลิบานยามหน้าหนาว บรรยากาศยามนี้ นักท่องเที่ยวผู้หลงใหลในเสน่ห์ของดอกไม้หรือผู้รักและถนอมบุปผา คงไม่รอช้าที่จะไปสัมผัสความงามของมวลหมู่ดอกไม้ในหน้าหนาว สำหรับเมืองไทยแหล่งชมมวลหมู่ดอกไม้บานยามหน้าหนาวมีที่ไหนบ้าง วันนี้ “คอลัมน์วาไรตี้ท่องเที่ยว” คัดมา 5 สถานที่ไฮไลท์แบบเนื้อๆเน้นๆ ซึ่งแต่ละที่ต่างก็มีความโดดเด่นและความสวยความงามของมวลหมู่ดอกไม้แตกต่างกันออกไป ดอกไม้บานบนลานหิน ที่ “ผาแต้ม” ที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ช่วงเดือนตุลาคมไปจนถึงเดือนธันวาคม ลานหินที่แข็งกระด้างจะดูนุ่มนวลสวยงามดารดาษไปด้วยทุ่งดอกไม้ป่าขนาดเล็กอย่าง ดอกดุสิตา มีสีม่วงเข้ม ดอกสร้อยสุวรรณา มีสีเหลืองทอง หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่าหญ้าสีทอง ดอกกระดุมเงิน สีขาวนุ่มนวล

ซึ่งเหล่าดอกไม้เหล่านี้จะพากันผลิดอกออกใบ แทรกขึ้นมาจากลานหิน พื้นดิน โดยมีพวก ดอกสรัสจันทร ดอกทิพย์เกสร หยาดน้ำค้าง จอกบ่วาย ขึ้นแซมแบบพึ่งพาอาศัยกัน ช่วยขับแต่งให้พื้นที่ส่วนหนึ่งของผาแต้มกลายเป็นจุดชมทุ่งดอกไม้บนลานหินที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของเมืองไทย ที่ยากจะปฏิเสธในความงามได้


ดอกบัวตองบานเหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่งที่ดอยแม่อูคอ


ทุ่งดอกบัวตองบานเหลืองอร่าม ท่ามกลาง“ดอยแม่อูคอ” ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนธันวาคมของทุกปี ดอกบัวตอง ที่ดอยแม่อูคอ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน จะพร้อมใจกันบานสะพรั่งเหลือง ชูดอกเหลืองสดใส อวดโฉมไปทั่วทั้งเนินเขา ซึ่งหน้าตาของดอกบัวตองคล้ายดอกทานตะวันแต่ขนาดเล็กกว่า ชาวบ้านจึงนิยมเรียกว่าทานตะวันป่า แต่แตกต่างจากทานตะวันตรงที่กระเปาะกลางดอกมีขนาดเล็ก ส่วนกลีบดอกยาวและมีจำนวนน้อยกว่า ชื่อดอกบัวตองทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าขึ้นในน้ำ จริงๆแล้วบัวตองเป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดจากเม็กซิโก ซ้ำยังถูกจัดเป็นวัชพืช ซึ่งแต่เดิมขึ้นในพื้นที่ป่ารกร้าง ต่อมาเมื่อมีการค้นพบเนินเขาที่มีดอกบัวตองขึ้นเต็มทั้งเนินเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ในพื้นที่ป่าดอยแม่อูคอ ทุ่งดอกบัวตองจึงแปรสภาพจากป่าเสื่อมโทรมกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติชื่อดังของจังหวัดแม่ฮ่องสอน







จัดงานเทิดพระเกียรติพระเจ้าตากฯ 27-28 ธ.ค.


พรเทพ เตชะไพบูลย์กรุงเทพมหานคร จัดงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 27 ถึง 28 ธ.ค. ที่วงเวียนใหญ่ และบริเวณถนนลาดหญ้าถึงแยกคลองสาน ...เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 53 ที่ห้องรัตนโกสินทร์ กทม. นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานแถลงข่าวการจัดงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ประจำปี 53 ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-28 ธ.ค. 53 ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และบริเวณถนนลาดหญ้าถึงแยกคลองสานกรุงเทพมหานครกำหนดจัดงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ประจำปี 53 ขึ้น เนื่องในวันคล้ายวันปราบดาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในวันที่ 28 ธ.ค. และเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ที่มีต่อปวงชนชาวไทย สำหรับกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย วันที่ 27 ธ.ค. พิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วัดอินทาราม เขตธนบุรี และพิธีเปิดงาน พร้อมการแสดงแสง สี เสียง ชุด "วีรกษัตริย์แห่งสยาม" ณ บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์ วันที่ 28 ธ.ค. พิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณ ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เขตบางกอกใหญ่ พิธีเจริญพระพุทธมนต์ พิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณ และพิธีวางพานพุ่มถวายสักการะ ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมงานยังได้ชมนิทรรศการแสดงพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจเทิดพระเกียรติ นิทรรศการแสดงดวงตราไปรษณียากร การให้บริการทางการแพทย์จากหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของโรงพยาบาลตากสิน การแข่งขันปรุงอาหารไทยร่วมสมัย พร้อมร่วมซื้อผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP และชมกิจกรรมการแสดงบนเวที และมหรสพต่างๆมากมาย ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ของวันที่ 27 ธ.ค. ถึงเวลา 24.00 น. วันที่ 28 ธ.ค. ณ บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช.

นาฏศิลป์ไทย


ประเภทของนาฎศิลป์ไทย


นาฎศิลป์ คือ การร่ายรำที่มนุษย์ได้ปรุงแต่งจากลีลาตามธรรมชาติให้สวยสดงดงาม โดยมีดนตรีเป็นองค์ประกอบในการร่ายรำ
นาฎศิลป์ของไทย แบ่งออกตามลักษณะของรูปแบบการแสดงเป็นประเภทใหญ่ ๆ 4 ประเภท คือ
1. โขน เป็นการแสดงนาฎศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีเอกลักษณ์ คือ ผู้แสดงจะต้องสวมหัวที่เรียกว่า หัวโขน และใช้ลีลาท่าทางการแสดงด้วยการเต้นไปตามบทพากย์ การเจรจาของผู้พากย์และตามทำนองเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ เรื่องที่นิยมนำมาแสดง คือ พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ แต่งการเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ที่เป็นเครื่องต้น เรียกว่าการแต่งกายแบบ “ยื่นเครื่อง” มีจารีตขั้นตอนการแสดงที่เป็นแบบแผน นิยมจัดแสดงเฉพาะพิธีสำคัญได้แก่ งานพระราชพิธีต่าง ๆ 2. ละคร เป็นศิลปะการร่ายรำที่เล่นเป็นเรื่องราว มีพัฒนาการมาจากการเล่านิทาน ละครมีเอกลักษณ์ในการแสดงและการดำเนินเรื่องด้วยกระบวนลีลาท่ารำ เข้าบทร้อง ทำนองเพลงและเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์มีแบบแผนการเล่นที่เป็นทั้งของชาวบ้านและของหลวงที่เรียกว่า ละครโนราชาตรี ละครนอก ละครใน เรื่องที่นิยมนำมาแสดงคือ พระสุธน สังข์ทอง คาวี อิเหนา อุณรุท นอกจากนี้ยังมีละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่อีกหลายชนิด การแต่งกายของละครจะเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ เรียกว่า การแต่งการแบยืนเครื่อง นิยมเล่นในงานพิธีสำคัญและงานพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์ 3. ระ และ ระบำ เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำประกอบเพลงดนตรีและบทขับร้อง โดยไม่เล่นเป็นเรื่องราว ในที่นี้หมายถึงรำและระบำที่มีลักษณะเป็นการแสดงแบบมาตรฐาน ซึ่งมีความหมายที่จะอธิบายได้พอสังเขป ดังนี้ 3.1 รำ หมายถึง ศิลปะแห่งการรายรำที่มีผู้แสดง ตั้งแต่ 1-2 คน เช่น การรำเดี่ยว การรำคู่ การรำอาวุธ เป็นต้น มีลักษณะการแต่งการตามรูปแบบของการแสดง ไม่เล่นเป็นเรื่องราวอาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้ากับทำนองเพลงดนตรี มีกระบวนท่ารำ โดยเฉพาะการรำคู่จะต่างกับระบำ เนื่องจากท่ารำจะมีความเชื่อมโยงสอดคล้องต่อเนื่องกัน และเป็นบทเฉพาะสำหรับผู้แสดงนั้น ๆ เช่น รำเพลงช้าเพลงเร็ว รำแม่บท รำเมขลา –รามสูร เป็นต้น 3.2 ระบำ หมายถึง ศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีผู้เล่นตังแต่ 2 คนขึ้นไป มีลักษณะการแต่งการคล้ายคลึงกัน กระบวนท่ารายรำคล้าคลึงกัน ไม่เล่นเป็นเรื่องราว อาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้าทำนองเพลงดนตรี ซึ่งระบำแบบมาตรฐานมักบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ การแต่งการนิยมแต่งกายยืนเครื่องพระนาง-หรือแต่งแบบนางในราชสำนัก เช่น ระบำสี่บท ระบำกฤดาภินิหาร ระบำฉิ่งเป็นต้น 4. การแสดงพื้นเมือง เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีทั้งรำ ระบำ หรือการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชนตามวัฒนธรรมในแต่ละภูมิภาค ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นภูมิภาคได้ 4 ภาค ดังนี้ 4.1 การแสดงพี้นเมืองภาคเหนือ เป็นศิลปะการรำ และการละเล่น หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “ฟ้อน” การฟ้อนเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา และกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ เช่น ชาวไต ชาวลื้อ ชาวยอง ชาวเขิน เป็นต้น ลักษณะของการฟ้อน แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบดั้งเดิม และแบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ แต่ยังคงมีการรักษาเอกลักษณ์ทางการแสดงไว้คือ มีลีลาท่ารำที่แช่มช้า อ่อนช้อยมีการแต่งกายตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สวยงามประกอบกับการบรรเลงและขับร้องด้วยวงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอว เป็นต้น โอกาสที่แสดงมักเล่นกันในงานประเพณีหรือต้นรับแขกบ้านแขกเมือง ได้แก่ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนครัวทาน ฟ้อนสาวไหมและฟ้อนเจิง 4.2 การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง เป็นศิลปะการร่ายรำและการละเล่นของชนชาวพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม ศิลปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและพื่อความบันเทิงสนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อเสร็จจากเทศการฤดูเก็บเก็บเกี่ยว เช่น การเล่นเพลงเกี่ยวข้าว เต้นกำรำเคียว รำโทนหรือรำวง รำเถิดเทอง รำกลองยาว เป็นต้น มีการแต่งกายตามวัฒนธรรมของท้องถิ่น และใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น กลองยาว กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง 4.3 การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน เป็นศิลปะการรำและการเล่นของชาวพื้นบ้านภาคอีสาน หรือ ภาคตะวนออกเฉียงเหนือของไทย แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ ๆ คือ กลุ่มอีสานเหนือ มีวัฒนธรรมไทยลาวซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า “เซิ้ง ฟ้อน และหมอลำ” เช่น เซิ้งบังไฟ เซิ้งสวิง ฟ้อนภูไท ลำกลอนเกี้ยว ลำเต้ย ซึ่งใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบ ได้แก่ แคน พิณ ซอ กลองยาว อีสาน ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง และกรับ ภายหลังเพิ่มเติมโปงลางและโหวดเข้ามาด้วย ส่วนกลุ่มอีสานใต้ได้รับอิทธิพลไทยเขมร มีการละเล่นที่เรียกว่า เรือม หรือ เร็อม เช่น เรือมลูดอันเร หรือรำกระทบสาก รำกระเน็บติงต็อง หรือระบำตั๊กแตน ตำข้าว รำอาไย หรือรำตัด หรือเพลงอีแซวแบบภาคกลางวงดนตรี ที่ใช้บรรเลง คือ วงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรี คือ ซอด้วง ซอด้วง ซอครัวเอก กลองกันตรึม พิณ ระนาด เอกไม้ ปี่สไล กลองรำมะนาและเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงเป็นไปตามวัฒนธรรมของพื้นบ้าน ลักษณะท่ารำและท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ รวดเร็ว และสนุกสนาน 4.4 การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคใต้อาจแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมไ 2 กลุ่มคือ วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา หนังตะลุง เพลงบอก เพลงนา และวัฒนธรรมไทยมุสลิม ได้แก่ รองเง็ง ซำแปง มะโย่ง (การแสดงละคร) ลิเกฮูลู (คล้ายลิเกภาคกลาง) และซิละ มีเครื่องดนตรีประกอบที่สำคัญ เช่น กลองโนรา กลองโพน กลองปืด โทน ทับ กรับพวง โหม่ง ปี่กาหลอ ปี่ไหน รำมะนา ไวโอลิน อัคคอร์เดียน ภายหลังได้มีระบำที่ปรับปรุงจากกิจกรรมในวิถีชีวิต ศิลปาต่างๆ เข่น ระบำร่อนแต่ การีดยาง ปาเตต๊ะ เป็นต้น กลับด้านบน

วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553

อาหาร5หมู่


อาหารหลัก 5 หมู่...คุณรู้ดีแค่ไหน (สสส.)

มีแรงจูงใจ 2 ประการที่จำเป็นจะต้องนำอาหารหลัก 5 หมู่ มาทบทวนตอกย้ำ ทั้งที่ทราบดีว่าคนไทยส่วนมากรู้จักมักคุ้นอยู่แล้ว แต่มีคนจำนวนไม่น้อยที่พอพูดถึงอาหารหลัก 5 หมู่ มักจะบอกเป็นสารอาหาร 5 ชนิด แทนการบอกชนิดของอาหาร ซึ่งแม้ว่าจะไม่ใช่ประเด็นที่สำคัญมากนัก แต่อยากจะให้คนไทยได้มีความเข้าใจที่ตรงกัน

อีกประการหนึ่ง อาจจะดูเป็นเรื่องตลกแต่สะท้อนใจให้เห็นอะไรบางอย่าง เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นนานมาแล้ว

ที่หมู่บ้านชนบทแห่งหนึ่งมีนักวิชาการไปสอนใช้ชาวบ้าน กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ อธิบายอย่างยืดยาวแล้วบอกชาวบ้านว่า เดือนหน้าจะมาเพื่อติดตามดูว่า ชาวบ้านกินครบ 5 หมู่หรือไม่ พอครบหนึ่งเดือนนักวิชาการกลับมายังหมู่บ้านแห่งนั้น เริ่มด้วยการถามคุณยายคำ อายุ 70 ปี ว่ากินอาหารครบ 5 หมู่ไหม ยายคำตอบชัดถ้อยชัดคำว่าเพิ่งกินได้แค่ 5 หมู่เอง หมู่ที่ 5 ยังไม่ได้กิน นักวิชาการถามกลับไปว่าเพราะเหตุใด ยายคำตะโกนก้องว่าหมู่ 5 อยู่ไกลมากเดินไปกินไม่ไหวยายคำคิดว่านักวิชาการบอกให้กินเป็นรายหมู่บ้าน เรื่องนี้น่าจะเกิดการผิดพลาดแน่นอน หากนักวิชาการมีวิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกับชาวบ้าน

ส่วนความสับสนระหว่างการเรียกชื่ออาหารให้ครบ 5 หมู่ กับเรียกสารอาหาร 5 ชนิด แทนนั้นจะขอทบทวนให้เข้าใจตรงกันดังนี้

หมู่ที่ 1 เรียกว่า นม ไข่ เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้ง และงานให้สารอาหารโปรตีน ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
หมู่ที่ 2 เรียกว่า ข้าว แป้ง เผือก มัน น้ำตาล ให้สารอาหารคาร์โบไฮเดรต เพื่อให้พลังงานแก่ร่างกาย
หมู่ที่ 3 เรียกว่า พืชผักต่างๆ ให้สารอาหารวิตามินและแร่ธาตุเพื่อเสริมสร้างการทำงานของร่างกายให้ปกติ
หมู่ที่ 4 เรียกว่า ผลไม้ต่างๆ ให้สารอาหารและประโยชน์เหมือนหมู่ที่ 3
หมู่ที่ 5 เรียกว่า น้ำมันและไขมันจากพืชและสัตว์ ให้สารอาหารไขมันเพื่อให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย

ต่อไปนี้เราไม่ควรเรียก อาหารหมู่ 1 โปรตีน หมู่ 2 คาร์โบไฮเดรต หมู่ 3 วิตามิน หมู่ 4 แร่ธาตุ หมู่ 5 ไขมัน อีกต่อไปแล้ว ควรเรียกชื่ออาหารแทน

เหตุผลที่กำหนดอาหารหลัก 5 หมู่ขึ้นก็เพื่อที่จะให้คนไทยกินอาหารให้ได้สารอาหาร ครบ 5 ชนิด โดยนำเอาอาหารที่มีสารอาหารเหมือนกันมาไว้ในหมู่เดียวกัน แต่ร่างกายของคนเราต้องการสารอาหารให้ครบทั้ง 5 ชนิดในแต่ละวัน ดังนั้น เราจึงต้องกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ทุกวัน เพราะไม่มีอาหารชนิดในชนิดหนึ่งที่จะให้สารอาหารครบทั้ง 5 ชนิด

อาหาร5หมู่

วีธีการลดโลกร้อน

เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจแบบพอเพียง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัยในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างไกล ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบท และช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความ " พออยู่พอกิน" และมีความอิสระที่จะอยู่ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทรงวิเคราะห์ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริมสร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด พระราชดำรัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งในตนเองของประชาชนและสามารถทำมาหากินให้พออยู่พอกินได้ ดังนี้
"….ในการสร้างถนน สร้างชลประทานให้ประชาชนใช้นั้น จะต้องช่วยประชาชนในทางบุคคลหรือพัฒนาให้บุคคลมีความรู้และอนามัยแข็งแรง ด้วยการให้การศึกษาและการรักษาอนามัย เพื่อให้ประชาชนในท้องที่สามารถทำการเกษตรได้ และค้าขายได้…"
ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงขึ้นนี้จึงทำให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนในแนวพระราชดำริของ "เศรษฐกิจพอเพียง" ซึ่งได้ทรงคิดและตระหนักมาช้านาน เพราะหากเราไม่ไปพี่งพา ยึดติดอยู่กับกระแสจากภายนอกมากเกินไป จนได้ครอบงำความคิดในลักษณะดั้งเดิมแบบไทยๆไปหมด มีแต่ความทะเยอทะยานบนรากฐานที่ไม่มั่นคงเหมือนลักษณะฟองสบู่ วิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้อาจไม่เกิดขึ้น หรือไม่หนักหนาสาหัสจนเกิดความเดือดร้อนกันถ้วนทั่วเช่นนี้ ดังนั้น "เศรษฐกิจพอเพียง" จึงได้สื่อความหมาย ความสำคัญในฐานะเป็นหลักการสังคมที่พึงยึดถือ
ในทางปฏิบัติจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงคือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น เศรษฐกิจพอเพียงเป็นทั้งหลักการและกระบวนการทางสังคม ตั้งแต่ขั้นฟื้นฟูและขยายเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพออยู่พอกินขึ้นไปถึงขั้นแปรรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพและทักษะวิชาการที่หลากหลายเกิดตลาดซื้อขาย สะสมทุน ฯลฯ บนพื้นฐานเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนนี้ เศรษฐกิจของ 3 ชาติ จะพัฒนาขึ้นมาอย่างมั่นคงทั้งในด้านกำลังทุนและตลาดภายในประเทศ รวมทั้งเทคโนโลยีซึ่งจะค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาจากฐานทรัพยากรและภูมิปัญญาที่มีอยู่ภายในชาติ และทั้งที่จะพึงคัดสรรเรียนรู้จากโลกภายนอก
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจที่พอเพียงกับตัวเอง ทำให้อยู่ได้ ไม่ต้องเดือดร้อน มีสิ่งจำเป็นที่ทำได้โดยตัวเองไม่ต้องแข่งขันกับใคร และมีเหลือเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ไม่มี อันนำไปสู่การแลกเปลี่ยนในชุมชน และขยายไปจนสามารถที่จะเป็นสินค้าส่งออก เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจระบบเปิดที่เริ่มจากตนเองและความร่วมมือ วิธีการเช่นนี้จะดึงศักยภาพของ ประชากรออกมาสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ซึ่งมีความผู้พันกับ “จิตวิญญาณ” คือ “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า” ในระบบเศรษฐกิจพอเพียงจะจัดลำดับความสำคัญของ “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า” มูลค่านั้นขาดจิตวิญญาณ เพราะเป็นเศรษฐกิจภาคการเงิน ที่เน้นที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่ไม่จำกัดซึ่งไร้ขอบเขต ถ้าไม่สามารถควบคุมได้การใช้ทรัพยากรอย่างทำลายล้างจะรวดเร็วขึ้นและปัญหาจะตามมา เป็นการบริโภคที่ก่อให้เกิดความทุกข์หรือพาไปหาความทุกข์ และจะไม่มีโอกาสบรรลุวัตถุประสงค์ในการบริโภค ที่จะก่อให้ความพอใจและความสุข (Maximization of Satisfaction) ผู้บริโภคต้องใช้หลักขาดทุนคือกำไร (Our loss is our gain) อย่างนี้จะควบคุมความต้องการที่ไม่จำกัดได้ และสามารถจะลดความต้องการลงมาได้ ก่อให้เกิดความพอใจและความสุขเท่ากับได้ตระหนักในเรื่อง “คุณค่า” จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ ไม่ต้องไปหาวิธีทำลายทรัพยากรเพื่อให้เกิดรายได้มาจัดสรรสิ่งที่เป็น “ความอยากที่ไม่มีที่สิ้นสุด” และขจัดความสำคัญของ “เงิน” ในรูปรายได้ที่เป็นตัวกำหนดการบริโภคลงได้ระดับหนึ่ง แล้วยังเป็นตัวแปรที่ไปลดภาระของกลไกของตลาดและการพึ่งพิงกลไกของตลาด ซึ่งบุคคลโดยทั่วไปไม่สามารถจะควบคุมได้ รวมทั้งได้มีส่วนในการป้องกันการบริโภคเลียนแบบ (Demonstration Effects) จะไม่ทำให้เกิดการสูญเสีย จะทำให้ไม่เกิดการบริโภคเกิน (Over Consumption) ซึ่งก่อให้เกิดสภาพเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน การบริโภคที่ฉลาดดังกล่าวจะช่วยป้องกันการขาดแคลน แม้จะไม่ร่ำรวยรวดเร็ว แต่ในยามปกติก็จะทำให้ร่ำรวยมากขึ้น ในยามทุกข์ภัยก็ไม่ขาดแคลน และสามารถจะฟื้นตัวได้เร็วกว่า โดยไม่ต้องหวังความช่วยเหลือจากผู้อื่นมากเกินไป เพราะฉะนั้นความพอมีพอกินจะสามารถอุ้มชูตัวได้ ทำให้เกิดความเข้มแข็ง และความพอเพียงนั้นไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง แต่มีการแลกเปลี่ยนกันได้ระหว่างหมู่บ้าน เมือง และแม้กระทั่งระหว่างประเทศ ที่สำคัญคือการบริโภคนั้นจะทำให้เกิดความรู้ที่จะอยู่ร่วมกับระบบ รักธรรมชาติ ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง เพราะไม่ต้องทิ้งถิ่นไปหางานทำ เพื่อหารายได้มาเพื่อการบริโภคที่ไม่เพียงพอ ประเทศไทยอุดมไปด้วยทรัพยากรและยังมีพอสำหรับประชาชนไทยถ้ามีการจัดสรรที่ดี โดยยึด " คุณค่า " มากกว่า " มูลค่า " ยึดความสัมพันธ์ของ “บุคคล” กับ “ระบบ” และปรับความต้องการที่ไม่จำกัดลงมาให้ได้ตามหลักขาดทุนเพื่อกำไร และอาศัยความร่วมมือเพื่อให้เกิดครอบครัวที่เข้มแข็งอันเป็นรากฐานที่สำคัญของระบบสังคม การผลิตจะเสียค่าใช้จ่ายลดลงถ้ารู้จักนำเอาสิ่งที่มีอยู่ในขบวนการธรรมชาติมาปรุงแต่ง ตามแนวพระราชดำริในเรื่องต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วซึ่งสรุปเป็นคำพูดที่เหมาะสมตามที่ ฯพณฯ พลเอกเปรม ตินณสูลานนท์ ที่ว่า “…ทรงปลูกแผ่นดิน ปลูกความสุข ปลดความทุกข์ของราษฎร” ในการผลิตนั้นจะต้องทำด้วยความรอบคอบไม่เห็นแก่ได้ จะต้องคิดถึงปัจจัยที่มีและประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้อง มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาอย่างเช่นบางคนมีโอกาสทำโครงการแต่ไม่ได้คำนึงว่าปัจจัยต่าง ๆ ไม่ครบ ปัจจัยหนึ่งคือขนาดของโรงงาน หรือเครื่องจักรที่สามารถที่จะปฏิบัติได้ แต่ข้อสำคัญที่สุด คือวัตถุดิบ ถ้าไม่สามารถที่จะให้ค่าตอบแทนวัตถุดิบแก่เกษตรกรที่เหมาะสม เกษตรกรก็จะไม่ผลิต ยิ่งถ้าใช้วัตถุดิบสำหรับใช้ในโรงงานั้น เป็นวัตถุดิบที่จะต้องนำมาจากระยะไกล หรือนำเข้าก็จะยิ่งยาก เพราะว่าวัตถุดิบที่นำเข้านั้นราคายิ่งแพง บางปีวัตถุดิบมีบริบูรณ์ ราคาอาจจะต่ำลงมา แต่เวลาจะขายสิ่งของที่ผลิตจากโรงงานก็ขายยากเหมือนกัน เพราะมีมากจึงทำให้ราคาตก หรือกรณีใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร เกษตรกรรู้ดีว่าเทคโนโลยีทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น และผลผลิตที่เพิ่มนั้นจะล้นตลาด ขายได้ในราคาที่ลดลง ทำให้ขาดทุน ต้องเป็นหนี้สิน การผลิตตามทฤษฎีใหม่สามารถเป็นต้นแบบการคิดในการผลิตที่ดีได้ ดังนี้ 1. การผลิตนั้นมุ่งใช้เป็นอาหารประจำวันของครอบครัว เพื่อให้มีพอเพียงในการบริโภคตลอดปี เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันและเพื่อจำหน่าย 2. การผลิตต้องอาศัยปัจจัยในการผลิต ซึ่งจะต้องเตรียมให้พร้อม เช่น การเกษตรต้องมีน้ำ การจัดให้มีและดูแหล่งน้ำ จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งการผลิต และประโยชน์ใช้สอยอื่น ๆ 3. ปัจจัยประกอบอื่น ๆ ที่จะอำนวยให้การผลิตดำเนินไปด้วยดี และเกิดประโยชน์เชื่อมโยง (Linkage) ที่จะไปเสริมให้เกิดความยั่งยืนในการผลิต จะต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายทั้ง เกษตรกร ธุรกิจ ภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับเศรษฐกิจการค้า และให้ดำเนินกิจการควบคู่ไปด้วยกันได้ การผลิตจะต้องตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่าง “บุคคล” กับ “ระบบ” การผลิตนั้นต้องยึดมั่นในเรื่องของ “คุณค่า” ให้มากกว่า “มูลค่า” ดังพระราชดำรัส ซึ่งได้นำเสนอมาก่อนหน้านี้ที่ว่า “…บารมีนั้น คือ ทำความดี เปรียบเทียบกับธนาคาร …ถ้าเราสะสมเงินให้มากเราก็สามารถที่จะใช้ดอกเบี้ย ใช้เงินที่เป็นดอกเบี้ย โดยไม่แตะต้องทุนแต่ถ้าเราใช้มากเกิดไป หรือเราไม่ระวัง เรากิน เข้าไปในทุน ทุนมันก็น้อยลง ๆ จนหมด …ไปเบิกเกินบัญชีเขาก็ต้องเอาเรื่อง ฟ้องเราให้ล้มละลาย เราอย่าไปเบิกเกินบารมีที่บ้านเมือง ที่ประเทศได้สร้างสมเอาไว้ตั้งแต่บรรพบุรุษของเราให้เกินไป เราต้องทำบ้าง หรือเพิ่มพูนให้ประเทศของเราปกติมีอนาคตที่มั่นคง บรรพบุรุษของเราแต่โบราณกาล ได้สร้างบ้านเมืองมาจนถึงเราแล้ว ในสมัยนี้ที่เรากำลังเสียขวัญ กลัว จะได้ไม่ต้องกลัว ถ้าเราไม่รักษาไว้…” การจัดสรรทรัพยากรมาใช้เพื่อการผลิตที่คำนึงถึง “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า” จะก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่าง “บุคคล” กับ “ระบบ” เป็นไปอย่างยั่งยืน ไม่ทำลายทั้งทุนสังคมและทุนเศรษฐกิจ นอกจากนี้จะต้องไม่ติดตำรา สร้างความรู้ รัก สามัคคี และความร่วมมือร่วมแรงใจ มองกาลไกลและมีระบบสนับสนุนที่เป็นไปได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกฝังแนวพระราชดำริให้ประชาชนยอมรับไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยให้วงจรการพัฒนาดำเนินไปตามครรลองธรรมชาติ กล่าวคือ ทรงสร้างความตระหนักแก่ประชาชนให้รับรู้ (Awareness) ในทุกคราเมื่อ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมประชาชนในทุกภูมิภาคต่าง ๆ จะทรงมีพระราชปฏิสันถารให้ประชาชนได้รับทราบถึงสิ่งที่ควรรู้ เช่น การปลูกหญ้าแฝกจะช่วยป้องกันดินพังทลาย และใช้ปุ๋ยธรรมชาติจะช่วยประหยัดและบำรุงดิน การแก้ไขดินเปรี้ยวในภาคใต้สามารถกระทำได้ การ ตัดไม้ทำลายป่าจะทำให้ฝนแล้ง เป็นต้น ตัวอย่างพระราชดำรัสที่เกี่ยวกับการสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชน ได้แก่ “….ประเทศไทยนี้เป็นที่ที่เหมาะมากในการตั้งถิ่นฐาน แต่ว่าต้องรักษาไว้ ไม่ทำให้ประเทศไทยเป็นสวนเป็นนากลายเป็นทะเลทราย ก็ป้องกัน ทำได้….” ทรงสร้างความสนใจแก่ประชาชน (Interest) หลายท่านคงได้ยินหรือรับฟัง โครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีนามเรียกขานแปลกหู ชวนฉงน น่าสนใจติดตามอยู่เสมอ เช่น โครงการแก้มลิง โครงการแกล้งดิน โครงการเส้นทางเกลือ โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย หรือโครงการน้ำสามรส ฯลฯ เหล่านี้ เป็นต้น ล้วนเชิญชวนให้ ติดตามอย่างใกล้ชิด แต่พระองค์ก็จะมีพระราชาธิบายแต่ละโครงการอย่างละเอียด เป็นที่เข้าใจง่ายรวดเร็วแก่ประชาชนทั้งประเทศ ในประการต่อมา ทรงให้เวลาในการประเมินค่าหรือประเมินผล (Evaluate) ด้วยการศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ ว่าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระองค์นั้นเป็นอย่างไร สามารถนำไปปฏิบัติได้ในส่วนของตนเองหรือไม่ ซึ่งยังคงยึดแนวทางที่ให้ประชาชนเลือกการพัฒนาด้วยตนเอง ที่ว่า “….ขอให้ถือว่าการงานที่จะทำนั้นต้องการเวลา เป็นงานที่มีผู้ดำเนินมาก่อนแล้ว ท่านเป็นผู้ที่จะเข้าไปเสริมกำลัง จึงต้องมีความอดทนที่จะเข้าไปร่วมมือกับผู้อื่น ต้องปรองดองกับเขาให้ได้ แม้เห็นว่ามีจุดหนึ่งจุดใดต้องแก้ไขปรับปรุงก็ต้องค่อยพยายามแก้ไขไปตามที่ถูกที่ควร….” ในขั้นทดลอง (Trial) เพื่อทดสอบว่างานในพระราชดำริที่ทรงแนะนำนั้นจะได้ผลหรือไม่ซึ่งในบางกรณีหากมีการทดลองไม่แน่ชัดก็ทรงมักจะมิให้เผยแพร่แก่ประชาชน หากมีผลการทดลองจนแน่พระราชหฤทัยแล้วจึงจะออกไปสู่สาธารณชนได้ เช่น ทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำนั้น ได้มีการค้นคว้าหาความเหมาะสมและความเป็นไปได้จนทั่วทั้งประเทศว่าดียิ่งจึงนำออกเผยแพร่แก่ประชาชน เป็นต้น ขั้นยอมรับ (Adoption) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น เมื่อผ่านกระบวนการมาหลายขั้นตอน บ่ม เพาะ และมีการทดลองมาเป็นเวลานาน ตลอดจนทรงให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริและสถานที่อื่น ๆ เป็นแหล่งสาธิตที่ประชาชนสามารถเข้าไปศึกษาดูได้ถึงตัวอย่างแห่งความสำเร็จ ดังนั้น แนวพระราชดำริของพระองค์จึงเป็นสิ่งที่ราษฎรสามารถพิสูจน์ได้ว่าจะได้รับผลดีต่อชีวิต และความเป็นอยู่ของตนได้อย่างไร แนวพระราชดำริทั้งหลายดังกล่าวข้างต้นนี้ แสดงถึงพระวิริยะอุตสาหะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทุ่มเทพระสติปัญญา ตรากตรำพระวรกาย เพื่อค้นคว้าหาแนวทางการพัฒนาให้พสกนิกรทั้งหลายได้มีความร่มเย็นเป็นสุขสถาพรยั่งยืนนาน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงที่ได้พระราชทานแก่ปวงไทยตลอดเวลามากกว่า 50 ปี จึงกล่าวได้ว่าพระราชกรณียกิจของพระองค์นั้นสมควรอย่งยิ่งที่ทวยราษฎรจักได้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ตามที่ทรงแนะนำ สั่งสอน อบรมและวางแนวทางไว้เพื่อให้เกิดการอยู่ดีมีสุขโดยถ้วนเช่นกัน โดยการพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขึ้นตอนต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตาหลักวิชาการ เพื่อได้พื้นฐานที่มั่นคงพร้อมพอสมควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริม ความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขึ้นที่สูงขึ้นไปตามลำดับ จะก่อให้เกิดความยั่งยืนและจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชน และสังคม สุดท้ายเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน ประการที่สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง
1. พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน เหลือจึงขายไป 2. พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ (ใช้จุลินทรีย์ผสมน้ำถูพื้นบ้าน จะสะอาดกว่าใช้น้ำยาเคมี) รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล) 3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด " การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง "
"เศรษฐกิจพอเพียง" จะสำเร็จได้ด้วย "ความพอดีของตน"

เศรษฐกิจพอเพียง