วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โปรแกรมmicroft word2002

ผังงาน


ผังงาน (Flowchart) [ refer. ] เว็บเพจหน้านี้สนใจผังงานโปรแกรม มากกว่าผังงานระบบ .. เพื่อเสริมบทเรียน สอนเขียนโปรแกรม
Process Symbol
Input/Output Symbol
Decision Symbol
Terminal Symbol
Document Symbol
Connector Symbol
ความหมายของผังงาน
ผังงาน (Flowchart) คือ รูปภาพ (Image) หรือสัญลักษณ์(Symbol) ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบาย ข้อความ หรือคำพูด ที่ใช้ในอัลกอริทึม (Algorithm) เพราะการนำเสนอขั้นตอนของงานให้เข้าใจตรงกัน ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ด้วยคำพูด หรือข้อความทำได้ยากกว่า ผังงานแบ่งได้ 2 ประเภท 1. ผังงานระบบ (System Flowchart) คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนการทำงานในระบบอย่างกว้าง ๆ แต่ไม่เจาะลงในระบบงานย่อย 2. ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart) คือ ผังงานที่แสดงถึงขั้นตอนในการทำงานของโปรแกรม ตั้งแต่รับข้อมูล คำนวณ จนถึงแสดงผลลัพธ์ ประโยชน์ของผังงาน 1. ทำให้เข้าใจ และแยกแยะปัญหาได้ง่าย (Problem Define) 2. แสดงลำดับการทำงาน (Step Flowing) 3. หาข้อผิดพลาดได้ง่าย (Easy to Debug) 4. ทำความเข้าใจโปรแกรมได้ง่าย (Easy to Read) 5. ไม่ขึ้นกับภาษาใดภาษาหนึ่ง (Flexible Language)
ตัวอย่างผังงานระบบไฟแดงการโปรแกรมแบบมีโครงสร้าง หรือ การโปรแกรมโครงสร้าง ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ผมขอตอบอย่างสั้น ๆ ว่าทุกภาษาต้องมีหลักการ 3 อย่างนี้คือ การทำงานแบบตามลำดับ(Sequence) การเลือกกระทำตามเงื่อนไข(Decision) และ การทำซ้ำ(Loop) แม้ตำราหลาย ๆ เล่มจะบอกว่า decision แยกเป็น if กับ case หรือ loop นั้นยังแยกเป็น while และ until ซึ่งแตกต่างกัน แต่ผมก็ยังนับว่าการเขียนโปรแกรม แบบมีโครงสร้างนั้น มองให้ออกแค่ 3 อย่างก็พอแล้ว และหลายท่านอาจเถียงผมว่าบางภาษาไม่จำเป็นต้องใช้ Structure Programming แต่เท่าที่ผมศึกษามา ยังไม่มีภาษาใด เลิกใช้หลักการทั้ง 3 นี้อย่างสิ้นเชิง เช่น MS Access ที่หลายคนบอกว่าง่าย ซึ่งก็อาจจะง่ายจริง ถ้าจะศึกษาเพื่อสั่งให้ทำงานตาม wizard หรือตามที่เขาออกแบบมาให้ใช้ แต่ถ้าจะนำมาใช้งานจริง ตามความต้องการของผู้ใช้แล้ว ต้องใช้ประสบการณ์ในการเขียน Structure Programming เพื่อสร้าง Module สำหรับควบคุม Object ทั้งหมดให้ทำงานประสานกัน
1. การทำงานแบบตามลำดับ(Sequence) : รูปแบบการเขียนโปรแกรมที่ง่ายที่สุดคือ เขียนให้ทำงานจากบนลงล่าง เขียนคำสั่งเป็นบรรทัด และทำทีละบรรทัดจากบรรทัดบนสุดลงไปจนถึงบรรทัดล่างสุด สมมติให้มีการทำงาน 3 กระบวนการคือ อ่านข้อมูล คำนวณ และพิมพ์
2. การเลือกกระทำตามเงื่อนไข(Decision or Selection) : การตัดสินใจ หรือเลือกเงื่อนไขคือ เขียนโปรแกรมเพื่อนำค่าไปเลือกกระทำ โดยปกติจะมีเหตุการณ์ให้ทำ 2 กระบวนการ คือเงื่อนไขเป็นจริงจะกระทำกระบวนการหนึ่ง และเป็นเท็จจะกระทำอีกกระบวนการหนึ่ง แต่ถ้าซับซ้อนมากขึ้น จะต้องใช้เงื่อนไขหลายชั้น เช่นการตัดเกรดนักศึกษา เป็นต้น ตัวอย่างผังงานนี้ จะแสดงผลการเลือกอย่างง่าย เพื่อกระทำกระบวนการเพียงกระบวนการเดียว
3. การทำซ้ำ(Repeation or Loop) : การทำกระบวนการหนึ่งหลายครั้ง โดยมีเงื่อนไขในการควบคุม หมายถึงการทำซ้ำเป็นหลักการที่ทำความเข้าใจได้ยากกว่า 2 รูปแบบแรก เพราะการเขียนโปรแกรมแต่ละภาษา จะไม่แสดงภาพอย่างชัดเจนเหมือนการเขียนผังงาน ผู้เขียนโปรแกรมต้องจินตนาการด้วยตนเอง

ระบบสารสนเทศ


ระบบสารสนเทศ


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
ระบบสารสนเทศ (Information System หรือ IS) เป็นระบบพื้นฐานของการทำงานต่างๆ ในรูปแบบของการเก็บ (input) การจัดการ (processing) เผยแพร่ (output) และมีส่วนเก็บข้อมูล (storage)
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคือฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์, มนุษย์, กระบวนการ, ข้อมูล ,เครือข่าย
ระบบสารสนเทศนั้นจะประกอบด้วย
ข้อมูล (Data) หมายถึง ค่าของความจริงที่ปรากฏขึ้น โดยค่าความจริงที่ได้จะนำมาจัดการปรับแต่งหรือประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
สารสนเทศ (Information) คือ กลุ่มของข้อมูลที่ถูกตามกฎเกณฑ์ตามหลักความสัมพันธ์ เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นมีประโยชน์และมีความหมายมากขึ้น
การจัดการ (Management) คือ การบริหารอย่างเป็นระบบ เป็นการกำหนดเป้าหมายและทิศทางการจัดการขององค์กรนั้น ซึ่งต้องมีการวางแผน กำหนดการ และจัดการทรัพยากรภายในองค์กร เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ขององค์กรนั้นๆ

เครือข่ายคอมพิวเตอร์


เครือข่ายคอมพิวเตอร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

แผนผังการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (computer network) คือ ระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป
การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง
การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผล, หน่วยความจำ, หน่วยจัดเก็บข้อมูล, โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้
[แก้] ชนิดของเครือข่าย
เครือข่าย เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกัน เพื่อสะดวกต่อการร่วมใช้ข้อมูล, โปรแกรม หรือเครื่องพิมพ์ และยังสามารถอำนวยความสะดวกในการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องได้ตลอดเวลา ระบบเครือข่ายจะถูกแบ่งออกตามขนาดของเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันเครือข่ายที่รู้จักกันดีมีอยู่ 3 แบบ ได้แก่
เครือข่ายภายใน หรือ แลน (Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในห้อง หรือภายในอาคารเดียวกัน
เครือข่ายวงกว้าง หรือ แวน (Wide Area Network: WAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกัน ในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็น กิโลเมตร หรือ หลาย ๆ กิโลเมตร
เครือข่ายงานบริเวณนครหลวง หรือ แมน (Metropolitan area network : MAN)
และยังมีอีกสองเครือข่ายที่ยังมีเพิ่มเติมอีกคือ
เครือข่ายของการติดต่อระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ แคน (Controller area network) : CAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อกันระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro Controller unit: MCU)
เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal area network) : PAN) เป็นเครือข่ายไร้สาย
[แก้] อุปกรณ์เครือข่าย
เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครืองแม่ข่าย เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หลักในเครือข่าย ที่ทำหน้าที่จัดเก็บและให้บริการไฟล์ข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆ กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ใน เครือข่าย โดยปกติคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์มักจะเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูง และ
มีฮาร์ดดิกส์ความจำสูงกว่าคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย .
ไคลเอนต์ (Client) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องลูกข่าย เป็นคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่ร้องขอ บริการและเข้าถึงไฟล์ข้อมูลที่จัดเก็บในเซิร์ฟเวอร์ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ไคลเอนต์ เป็นคอมพิวเตอร์ ของผู้ใช้แต่ละคนในระบบเครือข่าย
ฮับ (HUB) หรือ เรียก รีพีทเตอร์ (Repeater) คืออุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มคอมพิวเตอร์ ฮับ มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่ง ไปยังพอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับฮับจะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย เพราะฉะนั้นถ้ามีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อมากจะทำให้อัตราการส่งข้อมูลลดลง
สวิตซ์ (Switch) คืออุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่ในเรเยอร์ที่ 2 และทำหน้าที่ส่งข้อมูลที่ได้รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังพอร์ตเฉพาะที่เป็นปลายทางเท่านั้น และทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือส่งข้อมูลถึงกันในเวลาเดียวกัน ดังนั้น อัตราการรับส่งข้อมูลหรือแบนด์วิธจึงไม่ขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันนิยมเชื่อมต่อแบบนี้มากกว่าฮับเพราะลดปัญหาการชนการของข้อมูล
เราเตอร์ (Router)เป็นอุปรณ์ที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 3 เราท์เตอร์จะอ่านที่อยู่ (Address) ของสถานีปลายทางที่ส่วนหัว (Header) ข้อแพ็กเก็ตข้อมูล เพื่อที่จะกำหนดและส่งแพ็กเก็ตต่อไป เราท์เตอร์จะมีตัวจัดเส้นทางในแพ็กเก็ต เรียกว่า เราติ้งเทเบิ์ล (Routing Table) หรือตารางจัดเส้นทางนอกจากนี้ยังส่งข้อมูลไปยังเครือาข่ายที่ให้โพรโทคอลต่างกันได้ เช่น IP (Internet Protocol) , IPX (Internet Package Exchange) และ AppleTalk นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segments) เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN ออกไปได้เรื่อยๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบ ไม่ลดลงมากนัก เนื่องจากการติดต่อของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกันจะไม่ถูกส่งผ่าน ไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่น และเนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Data Link Layer จึงทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันในระดับ Physical และ Data Link ได้ เช่น ระหว่าง Eternet กับ Token Ring เป็นต้น
บริดจ์ มักจะถูกใช้ในการเชื่อมเครือข่ายย่อย ๆ ในองค์กรเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายใหญ่ เพียงเครือข่ายเดียว เพื่อให้เครือข่ายย่อยๆ เหล่านั้นสามารถติดต่อกับเครือข่ายย่อยอื่นๆ ได้
เกตเวย์ (Gateway) เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างประเภทเข้าด้วยกัน เช่น การใช้เกตเวย์ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ที่เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี (PC) เข้ากับคอมพิวเตอร์ประเภทแมคอินทอช (MAC) เป็นต้น


การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
วิธีการส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้น กลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งรบกวน (Noise) จากภายนอกทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหาย หรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธีลดสิ่งรบกวน เหล่านี้ โดยการพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ


องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน


2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใด ที่การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง

4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่าง ผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้

5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน

6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์ มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้ วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น

ข่ายการสื่อสารข้อมูล หมายถึง การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)
องค์ประกอบพื้นฐาน
หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อลดเวลาการทำงาน
เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ
ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล 1) การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บซึ่อยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึกที่มีความหนาแน่นสูงแผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ในอัตรา 120 ตัวอักษรต่อวินาทีแล้ว จะส่งข้อมูล 200 หน้าได้ในเวลา 40 นาที โดยไม่ต้องเสียเวลานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก 2) ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติวิธีส่งข้อมูลด้วยสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งด้วยระบบดิจิตอล วิธีการส่งข้อมูลนั้นมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูล หากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้ และพยายามหาวิธีแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่ หรือกรณีที่ผิดพลาดไม่มากนัก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้ 3) ความเร็วของการทำงาน โดยปกติสัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่ง ไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง หรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้รวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายยิ่งขึ้น เช่น บริษัทสายการบินทุกแห่งสามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที 4) ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าหากันเป็นเครือข่าย เพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูล ทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลประหยัดขึ้น เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น สามารถส่งข้อมูลให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้

กริยา3ช่อง


  • Infinitive Past Tense Past Participle คำแปลbackbite backbit backbitten ลอบกัดbackslide backslid backslidden/ backslid เลื่อนกลับbe was, were been เป็น,อยู่,คือbear bore born เกิดbear bore born/borne แบก,ถือbeat beat beaten/beat ตีbecome became become กลายเป็นbefall befell befallen บังเกิดแก่beget begot begotten นำมาซึ่งbegin began begun เริ่มต้นbehold beheld beheld เห็นbend bent bent งอbereave bereft bereft ทำให้หมด(หวัง)beseech besought besought อ้อนวอนbeset beset beset ห้อมล้อมbespeak bespoke bespoken แสดงbespread bespread bespread ปกคลุม,แผ่ออกbestrew bestrewed bestrewn ทำเกลื่อนกลาดbestride bestrode bestridden ขี่(ม้า)bet bet/betted bet/betted พนันbetake betook betaken นำ,พาไปbethink bethought bethought พิจารณาbid (farewell) bid/bade bidden บอก,เชิญbid (offer amount) bid bid ประมูลราคาbide bode biden คอย,รออยู่bind bound bound ผูก,มัด,เกี่ยว,พันbite bit bitten กัดbleed bled bled เลือดออกblend blended/blent blended/blent ผสม,กลมกลืนbless blest blest อวยพรblow blew blown พัด,เป่าbreak broke broken แตกbreed bred bred เลี้ยงดูbring brought brought นำมาbroadcast broadcast/ broadcast/ กระจายเสียง broadcasted broadcastedbrowbeat browbeat browbeaten/browbeat ขู่ตะคอกbuild built built สร้างburn burned/burnt burned/burnt เผาburst burst burst ระเบิดbuy bought bought ซื้อ

การเครพสิทธิของผู้อื่น


การเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่มีรัฐธรรมนูญเป็นแม่บทกำหนดกรอบให้ทุกภาคส่วนของสังคมยึดถือและปฏิบัติร่วมกัน โดยกรอบที่สำคัญในการดำรงตนอย่างเหมาะสมของประชาชน คือการยึดมั่นในสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด หากประชาชนทุกคนรู้ถึงสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ และต่างปฏิบัติได้อย่างถูกต้องครบถ้วน ประชาชนในชาติย่อมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และชาติบ้านเมืองก็จะพัฒนาและเจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็วสิทธิของตนเองและผู้อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยการปฏิบัติตนตามสิทธิของตนเองภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ โดยไม่กระทบสิทธิบุคคลอื่น ย่อมได้ชื่อว่าบุคคลนั้นเป็นผู้มีส่วนนำพาบ้านเมืองให้พัฒนา ในที่นี้จะกล่าวถึงการปฏิบัติตนในการรักษาและเคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและ ผู้อื่น ต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดไว้ ดังนี้1. การเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่นที่มีต่อครอบครัวครอบครัวประกอบด้วยพ่อแม่ลูก ทุกครอบรัวมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญในหลายประเด็นด้วยกัน โดยเฉพาะเรื่องการใช้ความรุนแรง และการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม หมายความว่า พ่อ แม่ และลูกจะต้องไม่ใช้ความรุนแรงหรือปฏิบัติต่อกันอย่างไม่เป็นธรรม กรณีระหว่างสามีภรรยาจะต้องเคารพและรับฟังความคิดเห็นของกันและกัน ไม่ตัดสินปัญหาโดยใช้กำลัง กรณีระหว่างบุตรกับบิดามารดา บุตรต้องเชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดามารดา บิดามารดาจะต้องอบรมสั่งสอนบุตรโดยใช้เหตุผล ไม่ใช้การแก้ไขพฤติกรรมลูกด้วยการเฆี่ยนตี เลี้ยงลูกด้วยรักความเข้าใจ และใช้สิทธิเสรีภาพในการแสวงหาความสุขส่วนตัว แต่ต้องอยู่ในขอบเขตและำไม่ทำให้เกิดความเดือดร้อนหรือสร้างปัญหาใด ๆ ให้แก่บิดามารดา2. การเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่นทีมีต่อชุมชนและสังคมสมาชิกทุกคนในสังคมมีสิทธิเท่าเทียมกันในการดำรงชีวิตในสังคม โดยสิทธิดังกล่าวจะต้องไม่ละเมิดสิทธิของสมาชิกคนอื่นในสังคม ในที่นี้ขอยกตัวอย่างสิทธิของตนเองที่มีต่อชุมชนบางประการ ดังนี้ 1) เสรีภาพในเคหสถาน ชาวไทยทุกคนย่อมมีเสรีภาพในเคหสถาน ที่จะสามารถอาศัยและครอบครองเคหสถานของตนโดยปกติสุข ไม่ว่าจะเกิดจาการเช่าหรือเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ซึ่งบุคคลอื่นจะต้องให้ความเคารพในสิทธินี้ แม้แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐหากจะต้องเข้าไปดำเนินการตามกฏหมายใด ๆ เช่น การตรวจค้นเคหสถานของประชาชนก็จะทำการมิได้ เว้นแต่จะมีหมายค้นที่ออกโดยศาลเท่านั้น 2) เสรีภาพในหารเดินทางและการติดต่อสื่อสาร ชาวไทยทุกคนมีเสรีภาพที่จะเดินทางไปในที่ต่าง ๆบนผืนแผ่นดินไทยได้ทุกพื้นที่ของประเทศไทย และสามารถเลือกถิ่นที่อยู่อาศัย ณ ที่ใดก็ได้ในประเทศไทย รวมทั้งชาวไทยทุกคนสามารถที่จะติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นไม่ว่าจะเป็นทางจดหมาย โทรศัพท์ หรืออินเทอร์เน็ต 3) เสรีภาพในการนับถือศาสนา สมาชิกทุกคนในสังคมมีสิทธิ เสรีภาพที่จะนับถือศาสนาแตกต่างกันได้ ซึ่งบุคคลอื่นในสังคมรวมทั้งรัฐจะต้องให้ความเคารพสิทธิเสรีภาพในเรื่องนี้ด้วย 4) เสรีภาพในทางวิชาการ เยาวชนไทยทุกคนจะต้องได้รับการศึกษาขึ้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้คนไทยทุกคนยังมีสิทธิในการที่จะศึกษาค้นหว้าหรือทำวิจัยตามที่ต้องการ โดยไม่ขัดต่อกฏหมาย 5)เสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบโดยปราศจากอาวุธ หมายถึง ประชาชนทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมแต่ต้องเป็นไปโดยสงบ ปราศจากอาวุธ และต้องไม่รบกวนสิทธิของผู้อื่น การปราศจากอาวุธนั้น หมายรวมถึง ห้ามทุกคนที่มาร่วมชุมนุมพกพาอาวุธเข้ามามาในที่ขุมนุมเด็กขาด บุคคลใดพกพาอาวุธเข้ามาในที่ขุมนุม บุคคลนั้นจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญในกรณีที่ได้กล่าวมาข้างต้น 6) สิทธิเสรีภาพในการอนุรักษ์และฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทุกคนย่อมมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และร่วมสืบสานศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นและของประเทศชาติเพื่อให้ดำรงอยู่้ต่อไปกับอนุชนรุ่นหลัง 7) สิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพ โดยเสรีภาพในหารประกอบอาชีพจะต้องไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น เช่น ผู้ประกอบการจะต้องเคารพและซื่อสัตย์ต่อผู้บริโภค และไม่เอาเปรียบผู้บริโภค เป็นต้น3. การเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่นที่มีต่อประเทศชาติ 1) สิทธิในการมีส่วนร่วม ในที่นี้ หมายถึง สิทธิการมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการด้านการปกครอง อันมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของคนในสังคมโดยตรง 2) สิทธิที่จะฟ้องร้องหน่อยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือองค์กรของรัฐที่เป็นนิติบุคคล ประชาชนมีสิทธิที่จะฟ้องร้องหน่วยงานต่าง ๆเหล่านี้ให้รับผิดชอบ หากการกระทำใด ๆหรือการละเว้นการกระทำใด ๆของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานนั้น ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนต่อศาลปกครอง 3) สิทธิที่จะต่อต้านโดยสันติวิธี การกระทำใดจะที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติได้ในรัฐธรรมนูญ เช่นการต่อต้านการทำปฏิวัติรัฐประหาร เป็นสิ่งที่ประชาชนมีสิทธิที่จะออกมาต่อต้าน แต่ต้องเป็นไปโดยสันติวิธีแนวทางการปฏิบัติตนในการเคารพสิทธิของตนเองและผู้ื่อื่นการปฏิบัติตนตามสิทธิของตนเองและผู้อื่นในสังคม เป็นสิ่งที่ช่วยจัดระเบียบให้กับสังคมสงบสุข โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้ 1. เคารพสิทธิของกันและกัน โดยไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้ื่อื่น สามารถแสดงออกได้หลายประการ เช่น การแสดงความคิดเห็น การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้ื่อื่น เป็นต้น 2. รู้จักใช้สิทธิของตนเองและแนะนำให้ผู้อื่นรู้จักใช้สิทธิของตนเอง 3. เรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสิทธิเสรีภาพตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น สิทธิเสรีภาพของความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพในเคหสถาน เป็นต้น 4. ปฏิบัติตามหน้าที่ของชาวไทยตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น การออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง การเสียภาษีให้รัฐเพื่อนำเงินมาพัฒนาประเทศ เป็นต้นผลที่ได้รับจากการกฏิบัติตนเคารพสิทธิของตนเองและผู้ื่อื่น 1. ผลที่เกิดกับประเทศชาติ หากประชาชนมีความสมัครสมานรักใคร่สมัคคี ไม่มีความแตกแยก ไม่แบ่งเป็นพวกเป็นเหล่า บ้านเมืองก็จะสงบสุขเกิดสวัสดิภาพ บรรยากาศโดยรวมก็จะสดใส ปราศจากการระแวงต่อกัน การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆสามารถดำเนินไปอย่างราบรื่น นักลงทุน นักท่องเที่ยวก็จะเดินทางมาเยือนประเทศของเราด้วยความมั่นใจ 2. ผลที่เกิดขึ้นกับชุมชนหรือสังคม เมื่อประชาชนในสังคมรู้จักสิทธิของตนเอง และของคนอื่น ก็จะทำพาให้ชุมชนหรือสังคมเกิดการพัฒนา เมื่อสังคมมั่นคงเข้มแข็งก็จะมีส่วนทำให้ประเทศชาติเข้มแข็ง เพราะชุมชนหรือสังคมเป็นส่วนหนึ่งของประเทศชาตบ้านเมืองโดยรวม 3. ผลที่เกิดขึ้นกับครอบครัว ครอบครัวเป็นสถาบันแรกของสังคม เมื่อครอบครัวเข้มแข็ง และอบรมสั่งสอนให้สมาชิกในครอบครัวทุกคนรู้บทบาท สิทธิ เสรีภาพของตนเองและปฏิบัติตามที่กฏหมายและรัฐธรรมนูญได้ให้ความคุ้มครองได้อย่างเคร่งครัด โดยไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของสมาชิกอื่นในสังคม ก็จะนำพาให้สังคมและประเทศชาติเข้มแข็งตามไปด้วย
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก : ไพศาล ภู่ไพบูลย์ อังคณา ตติรัตน์ และปนัดดา มีสมบัติงาม. หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม